วิวัฒนาการการปกครองท้องถิ่น



   ารจัดระเบียบบริหารบริหารราชการแผ่นดินที่ปรากฎหลักฐานชัดเจนในระเบียบแบบแผนในการปกครองได้เริ่มในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ได้ทรงเห็นลักษณะวิธีการปกครองหรือการบริหารแผ่นดินของขอม ซึ่งเอาแบบอย่างมาจากอินเดีย คือมีการจัดแบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 แผนก

       
ึงทรงนำแบบอย่างนี้มาใช้และเรียกว่า "จตุสดมภ์" แปลว่าหลักสี่ ได้แก่ เวียงหรือเมือง วัง คลัง นา ต่อมาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งถือเป็นพระมหากษัตริย์นักรัฐศาสตร์ได้ทรงเปลี่ยนหัวหน้าจตุสดมภ์ใหม่




       
           ะเบียบแบบแผนนี้ได้ถือปฏิบัติมาจนถึงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งการจัดรูปแบบการปกครองราชธานีแบบอารยประเทศได้ปรากฎชัดเจนมากที่สุด
ในปีพุทธศักราช 2428 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงปฏิรูปการบริหารและการปกครองบ้านเมืองเสียใหม่เพื่อให้ทันสมัยเท่าเทียมอารยประเทศ ทรงทำด้วยวิธีการแบบค่อยเป็นค่อยไป ทรงเห็ฯว่าวิธีการเปลี่ยนแปลงไปทีละขึ้นจะเป็นผลดีกว่าลงมือเปลี่ยนแปลงการปกครองจะกระบอบเดิมอย่างทันทีทันใด การปฏิรูปการบริหารและการปกครองครั้งใหญ่ที่ทรงจัดทำมีดังนี้

        1. ทรงตั้งสภาการแผ่นดิน ขึ้น 3 สภา ได้แก่
 1. สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับพระราชดำริในข้อราชการที่สำคัญและจะตราเป็ฯตัวบทกฏหมาย
 2. องคมนตรีสภาหรือสภาที่ปรึกษาในพระองค์ มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาส่วนพระองค์ และหน้าที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดินด้วย
 3. เสนาบดีสภา มีหน้าที่ปรึกษาหารือข้อราชการต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีระเบียบเรียบร้อย

 
      2. ทรงปฏิรูปการบริหารและการปกครองส่วนกลาง ทรงยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี เสนาบดีจตุสดมภ์และแบ่งส่วนราชการออกเป็น 12 กระทรวง แต่ละกระทรวงมีอำนาจหน้าที่เฉพาะอย่างไม่ปะปนกัน ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวัง กระทรวงนครบาล กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุทธนาธิการ กระทรวงธรรมการ กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงมุรธาธร

  
      3. ทรงปฏิรูปการบริหารและการปกครองส่วนภูมิภาค ทรงตั้งมณฑลเทศาภิบาลเนื่องจากการจัดแย่งหัวเมืองขึ้นกับกระทรวงต่างๆ จึงมีพระราชประสงค์ที่จะรวมหัวเมืองทั้งหมดขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยแต่แห่งเดียว จึงทรงปฏิรูปรวมหัวเมืองต่างๆ ตั้งเป็นมณฑลขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย และมีอำนาจหน้าที่ปกครองลดหลั่นเป็นชั้นๆตามลำดับ และทรงแต่งตั้งข้าหลงงใกญ่ไปบัญชาการต่างพระเนตรพระกรรณประจำมณฑลต่างๆ ต่อมาทรงพบว่า หัวเมืองใหญ่น้อยมีอยู่มาก ตั้งอยู่กระจัดกระจายห่างกัน และยังห่างไกลต่อความเจริญการคมนาคมระหว่างหัวเมืองต่างๆ ก็ไม่สะดวก การสั่งงานจากส่วนกลางไปยังหัวเมืองไม่บังเกิดผลสำเร็จ การออกตรวจราชการตามหัวเมืองก็ไปได้ไม่ทั่วถึง ควรจัดรวบรวมหัวเมืองใกล้เคียงกันอย่างน้อย 2 หัวเมือง ตั้งเป็นมณฑล นับเป็นผลดีที่ทำให้มีการปฏิรูปการบริหารและการปกครอง ในส่วนภูมิภาคแยกออกเป็นจังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน จนมีทั่วพระราชอาณาจักร ยกเว้นมณฑลกรุงเทพฯ เนื่องจากเป็นที่ตั้งราชธานีจึงมีระเบียบการปกครองเป็นพิเศษต่างจากมณฑลอื่นๆ มณฑลกรุงเทพฯ แบ่งการปกครองออกเป็นจังหวัดอำเภอและตำบล ไม่มีหมู่บ้าน ผู้ปกครองออกเป็นจังหวัดเรียกว่า "นครบาลประจำจังหวัด" มี 6 จังหวัด คือพระนคร ธนบุรี สมุทรปราการ นครเขื่อนขันธ์ ปทุมธานี และนนทบุรี จังหวัดในกรุงเทพฯ มีอำเภอ 2 ชนิด คือ อำเภอชั้นในแย่งเขตการปกครองเป็นเพียงตำบล ไม่มีหมู่บ้าน ไม่มีกำนัน แพทย์ประจำตำบล และไม่มีสารวัตรกำนัน เหมือนกับอำเภอชั้นนอนซึ่งแบ่งเป็นตำบล หมู่บ้าน มีพนักงานปกครองตำบลตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พระพุทธศักราช 2457 และข้อบังคับปกครองหัวเมืองโดยอนุโลม








Home | Site Map| Contact Us |
ประวัติศาสตร์ | การปกครอง | สถานที่ท่องเที่ยว | การคมนาคม | เทศกาล

Copyright 2003.All right reserve by www.SawasdeeBangkok.com