ชาร์ล บี แวง
ผู้บริหารสูงสุดของบริษัทคอมพิวเตอร์แอสโซซิเอชัน (CA Unicenter)
ได้เขียนหนังสือชื่อ Techno Vision II และต่อมาได้รับการกล่าวถึงปัญหาการใช้ไอทีในองค์กรต่าง
ๆ ชาร์ล บี แวง
เน้นให้เห็นว่า ไอทีมีบทบาทที่สำคัญยิ่งในยุคของการแข่งขันสำหรับศตวรรษใหม่นี้
ไอทีทให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มาก รวดเร็ว และสะดวก
เป็นผลให้ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานต่าง ๆ หลายอย่าง
โดยเน้นให้มีประสิทธิภาพในเรื่องเวลา ทำงานได้มากขึ้น ในขณะที่ใช้เวลาน้อยลง
และต้นทุนรวมของระบบต้องต่ำลง การดำเนินงานในองค์กรสมัยใหม่
จึงต้องให้ความสำคัญของไอที
ห้างร้านขายของเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบสะดวกซื้อ
บริการลูกค้าได้ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง ขณะที่มีของให้เลือกได้ครบ
อีกทั้งราคาขายยังถูกกว่าทั่วไป
ดังจะเห็นได้จากการประสบความสำเร็จของร้านค้าปลีกของต่างประเทศที่ยกทัพมาเปิดในประเทศไทยจำนวนมากในขณะนี้
การดำเนินงานขององค์กรจึงต้องหันรูปแบบการบริหารและจัดการมาที่การใช้ข้อมูลข่าวสารให้เกิดประโยชน์อย่างรวดเร็ว
ให้บริการที่ประทับใจ และก้าวให้ทันกับความต้องการของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ
ผู้บริหารกับการเป็นโรคกลัวเทคโนโลยี ชาร์ล บี แวง
เน้นให้เห็นว่า
ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ในองค์กรเป็นคนรุ่นเก่าที่มิได้เติบโตหรือพัฒนามากับเทคโนโลยี
แนวคิดหลายอย่างจึงไม่พัฒนาที่จะแข่งขันได้ หลายองค์กรจึงประสบปัญหา และในที่สุดหลายองค์กรต้องล้มไปอย่างน่าเสียดาย
ความกลัวเทคโนโลยีตามที่ ชาร์ล
บี แวง กล่าวเน้นได้เกิดขึ้น ทำให้ผู้บริหารหลายคนไม่กล้าตัดสินใจ
ทำให้พลาดโอกาสที่สำคัญในการแข่งขัน หรือการก้าวขึ้นเป็นผู้นำ
ผู้บริหารหลายคนมีความกลัวว่าจะน้อยหน้าผู้อื่น ก็จะตัดสินใจลงทุนทางด้านไอทีเกินความจำเป็น
โดยเฉพาะมีการใช้จ่ายทางด้านไอทีกับอุปกรณ์ที่ทันสมัยจนเกินความเหมาะสม
ผู้บริหารหลายคนกลัวความน้อยหน้า จึงเป็นแหล่งของการสะสมเครื่องมือทางด้านไอที
และใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้น้อย ปัญหาไอทีกับการลงทุนที่คุ้มค่า ปัญหาการดำเนินงานทางด้านไอทีจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกหน่วยงานจะต้องวางรากฐานและมีแผนงานการดำเนินการ
ในปี พ.ศ. 2540
ชาร์ล บี แวง
ได้มีโอกาสเข้าพบกับรองนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (รองนายกฯ
สุวิทย์ คุณกิตติ) ในขณะนั้น
เขาได้ชี้ให้เห็นความล้มเหลวการลงทุนทางด้านไอทีที่ขาดวิสัยทัศน์
ทำให้การพัฒนางานไอทีไม่ก้าวหน้า เขายังเสนอแนวคิดที่จะให้ผู้บริหารได้เรียนรู้
และมีวิสัยทัศน์ทางด้านไอที และเสนอให้ทุกองค์กรมีแผนหลักทางด้านไอทีขององค์กร
พร้อมให้มีหน่วยงานดูแล โดยเน้นให้มีผู้บริหารระดับสูงดูแลไอทีโดยเฉพาะ
และกำหนดตำแหน่งเป็น ซีไอโอ (CIO-Chieft
Information Officer) รัฐบาลไทยในขณะนั้นขานรับความคิดประกาศให้ทุกกรมมีตำแหน่ง
CIO เพื่อเป็นการสร้างวิสัยทัศน์ให้องค์กร แต่จากระยะเวลาที่ผ่านมา
องค์กรส่วนใหญ่ก็ยังไม่เข้าใจในตำแหน่ง CIO และไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร
ทั้ง ๆ ที่สำนักงบประมาณขานรับนโยบายที่จะให้ทุกหน่วยงานดำเนินการอย่างมีแผนงาน
และมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ไอทีกับการศึกษาในยุคโลกาภิวัฒน์ รูปแบบของการศึกษาในยุคโลกาภิวัฒน์กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปมาก
ระบบคอมพิวเตอร์และสื่อสารโทรคมนาคมทำให้สภาพการให้บริการการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ลดข้อจำกัดต่าง ๆ ประเด็นที่สำคัญคือ ไอทีกำลังเปลี่ยนแปลงรูปแบบการศึกษาในอนาคต
โดยเน้นการลดข้อจำกัดดังนี้ ข้อจำกัดทางด้านระยะทาง
จากการประสบผลสำเร็จของเซเว่นอีเลฟเว่นและห้างค้าปลีก
พิสูจน์และยืนยันว่า ลูกค้าต้องการความสะดวกสบาย ง่ายต่อการเข้าถึง บริการดี
ได้สินค้าและบริการตรงตามความต้องการ การกระจายสาขาทำได้ง่าย
สถาบันการศึกษาก็มีแนวโน้มเช่นนั้น
ระบบไอทีลดปัญหาในเรื่องระยะทางและสภาพภูมิศาสตร์
มหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่จัดอยู่ในระดับชั้นนำ
กำลังดำเนินโครงการกระจายการศึกษาเข้าสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก มหาวิทยาลัย MIT กำลังเปิดวิชาแบบออนไลน์กว่า
500 วิชา
ให้ประชาชนทั่วโลกได้ศึกษาเล่าเรียนผ่านทางอินเทอร์เน็ต ข้อจำกัดทางระยะทางลดลงไปมาก หลายมหาวิทยาลัย เช่น
สถาบันราชภัฏ เปิดสาขาย่อยตามที่ต่าง ๆ
เพื่อเข้าถึงผู้เรียน มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกลด้วยวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ มีการสร้างห้องเรียนเครือข่าย ห้องเรียนเสมือนจริง
ตลอดจนมีสถานีบริการการเรียนการสอนกระจายทั่วไป ข้อจำกัดในเรื่องเวลา
ไอทีทำให้สภาพการทำงานเป็นแบบการให้บริการแบบ 24x7 การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมต่าง
ๆ ทำได้ตลอดเวลา การให้บริการการเรียนการสอนแบบตลอดเวลา
จึงเป็นเป้าหมายการบริหารของหลายมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ
การใช้แนวคิดการดำเนินการบนเครือข่ายลดอุปสรรคเรื่องเวลา ข้อจำกัดในเรื่องบุคคล
มหาวิทยาลัยในรูปแบบเก่ามักจะเน้นในเรื่องสถานที่ อาคาร สิ่งก่อสร้าง
จึงทำให้ต้องลงทุนสูง การจัดการทรัพยากรเหล่านี้ก็มักจะไม่คุ้มค่า
บางครั้งก็ไม่สามารถขยายจำนวนนิสิต นักศึกษาให้เพิ่มขึ้นได้
ข้อจำกัดในการขาดแคลนครูอาจารย์ผู้สอน ข้อจำกัดในเรื่องการทำงานของบุคคล
เพราะยากที่จะให้บุคคลทำงานต่อเนื่องระยะเวลานาน ๆ ได้
บทบาทของไอทีจึงทำให้ข้อจำกัดในเรื่องเหล่านี้ลดลงได้ รูปที่ 1 การศึกษาผ่านเครื่องมือไอทีในรูปแบบ
e-Learning ข้อจำกัดในเรื่องการลงทุน
ไอทีเป็นทรัพย์สินที่ต้องลงทุนและดำเนินการ โดยปกติมักมีข้อจำกัดที่จะใช้เงินลงทุน
แต่ความสำคัญอยู่ที่จะทำอย่างไรให้ลงทุนได้คุ้มค่า
และได้ประโยชน์คุ้มต่อการลงทุน ข้อจำกัดในการเลือกสรรเทคโนโลยี
องค์กรส่วนใหญ่มักขาดคนที่มีความรู้ความเข้าใจหรือมีวิสัยทัศน์ เห็นแนวโน้ม
เข้าใจการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนรู้จักออกแบบ ปรับใช้ หรือพัฒนาระบบงานขึ้นใช้เอง
เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน ขาดการดูแล บำรุงรักษา
ทำให้ไม่สามารถพึ่งพาเทคโนโลยีด้วยตนเองได้ ข้อจำกัดทางด้านการคิดริเริ่ม
งานทางด้านการประยุกต์ใช้เป็นงานต้องการความคิดริเริ่มและพัฒนา
งานเหล่านี้ต้องการผู้ริเริ่มและสานต่องานเพื่อให้งานก่อประโยชน์กับองค์กร มหาวิทยาลัยในยุคโลกาภิวัฒน์ แนวคิดเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ e-Learning ในมหาวิทยาลัย และการดำเนินการในรูปแบบ Virtual Classroom เป็นโมเดลที่มหาวิทยาลัยในต่างประเทศกำลังให้ความสนใจและพัฒนากันอย่างจริงจัง
ทุกวันนี้ถ้าเรียกค้นข้อมูลเกี่ยวกับชื่อวิชาต่าง ๆ จะพบว่า ทุกมหาวิทยาลัยใช้ IT
เพื่อการเรียนการสอนกันอย่างเต็มที่
มีการใช้เทคโนโลยีเว็บเพื่อการเรียนการสอนจนเป็นเรื่องธรรมดา
เอกสารสิ่งพิมพ์ตลอดจนเอกสารประกอบการสอน
และเอกสารนำเสนอในห้องเรียนได้รับการนำมาใส่ไว้ในเว็บจำนวนมากมาย ผู้เรียนในปัจจุบันจึงขาดจากการใช้ IT ไปไม่ได้
คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งยวดในยุคการศึกษาในปัจจุบัน
|