Welcome to Lao Bhudda vong home!!!!

King's words 2

Luangpor Teean Jittasubho
Blank page
For Lao Reader
AJARN SUJIN
Dad & Abhidhamma
Buddha, Dhamma, Sankha
Tipitaka List
Tipitaka Sutta
Dhamma Dictionary
Visakha Day
For New Buddhist Monk
King's Words
For My Parents
About Me
MY Family
My Children Pictures
Favorite Links
Listen to Dhamma!!!
My Favorites Songs
Contact Me

 

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น…

พุทธแท้ 

     ในช่วงนี้ได้มีข่าวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาของเราขึ้นอยู่หลายเรื่องด้วยกัน ซึ่งสร้างความสะเทือนใจแก่ชาวพุทธเป็นอันมากบางคนถึงประกาศเลิกนับถือพระสงฆ์ไปเลย บางคนก็เกิดความเสื่อมศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา แต่บางท่านที่มีสัมมาทิฐินี้ก็จะไม่เสื่อมศรัทธาต่อพระสงฆ์โดยส่วนรวม เพราะพระสงฆ์ที่ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็ยังมีอยู่มากมาย ส่วนพระที่ปฏิบัติไม่ถูกไม่ควรนั้นมีเป็นส่วนน้อยนิด และก็มีอยู่ทุกยุคทุกสมัย แม้แต่ในครั้งพุทธกาลก็มีมาแล้ว

     สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า ชาวพุทธเราไมู่ร้จักพุทธศาสนากันอย่างแท้จริง ก็เลยประพฤติปฏิบัติกันไปอย่างผิด ๆ และอีกอย่างหนึ่งคือ เมื่อเห็นพระปฏิบัติไม่ถูกไม่ควรก็ไม่กล้าจะไปตำหนิก็เลยเป็นการส่งเสริมให้พระกระทำผิดไปอีก

     ก่อนที่เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไรนั้น เราจะต้องมาศึกษาพุทธศาสนาในปัจจุบันกันก่อน พุทธศาสนานั้นประกอบไปด้วยหลายสิ่งหลายอย่าง กล่าวคือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หรือพระธรรมวินัย ในปัจจุบันนี้ใด้มีการสอนที่ผิดเพี้ยนไปจากพระธรรมวินัย และชาวพุทธส่วนมากมักไปติดยึดในคำสั่งสอนของพระอาจารย์ต่าง ๆ และอาจารย์เหล่านี้มักจะสอนเอาตามทิฐิของตนหรือสอนกันตามมาบางท่านก็สอนขัดแย้งกับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จึงทำให้เกิดความสับสนแก่ชาวพุทธโดยทั่วไป จุดนี้จึงเป็นจุดอันตรายมาก ดังนั้นชาวพุทธจึงไม่ควรที่จะยึดติดในตัวบุคคล แต่ควรจะยึดในหลักธรรมดีกว่า เพราะเราสามารถที่จะตรวจทานได้ ถ้าเราเชื่อผิดหรือเห็นผิด เราก็จะเปลี่ยนได้ง่าย แต่ถ้าเราไปยึดติดในตัวบุคคลแล้วมันเปลี่ยนได้ยากหรือเปลี่ยนไม่ได้เลย ศาสนพิธี ได้แก่พิธีการต่างๆ ที่จะช่วยให้ชาวพุทธใช้เป็นสื่อเข้าถึงศาสนาหรือธรรมะก่อให้เกิดความสะดวก เป็นระเบียบ และเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาเลื่อมใส ศาสนพิธีจึงจำเป็นต้องมี แต่จะต้องมีให้พอดีพองามไม่มากจนไปปิดบังศาสนธรรม หรือก่อให้เกิดความงมงายทำให้เข้าไม่ถึงแก่นพระศาสนา ติดอยู่เพียงแค่เปลือกหรือกระพี้ของศาสนาเท่านั้น
     ชาวพุทธส่วนใหญ่ มักจะไปติดในพิธีรีตอง พิธีพอจะรับได้แต่เจ้ารีตองนี้มันมักจะทำให้งมงาย ควรจะตัดออกไปเสียบ้างเพราะบางอย่างมันเยิ่นเย้อยืดยาด จนชาวพุทธบางคนไม่อยากเข้าวัด ปัญหาเรื่องพิธีรีตองจะลดลงหรือหมดไป เมื่อเราศึกษาพระธรรมให้ลึกซึ้งและถูกต้องอย่างแท้จริง ว่าความมุ่งหมายของพิธีรีตองแต่ละขั้นเป็นอย่างไร เมื่อเรารู้จุดหมายที่ถูกต้องแล้ว มันก็จะเบื่อไปเอง

     ศาสนวัตถุ ได้แก่ กุฏิ ศาลา โบสถ์ วิหาร เป็นต้นศาสนวัตถุจะไม่ก่อปัญหาแก่ชาวพุทธ ไม่เกิดการสูญเปล่า ไม่เป็นภาระแก่อนุชน และไม่เป็นที่ตำหนิของชาวพุทธ ถ้าหากว่าไม่มีการสร้างให้ใหญ่โตจนเกินกำลัง เกินความจำเป็น หรือไม่เรี่ยไรจนคนไม่อยากเข้าวัด แต่ก็ไม่ควรลืมว่า อันวัตถุต่างๆ นั้นพอเราเริ่มสร้างแม้ว่าจะยังไม่เสร็จมันก็เริ่มเสื่อมในตัวของมันเองอยู่เรื่อยๆแล้ว ถ้าสร้างใหญ่โตจนเกินไปก็จะเป็นที่ระอุของคนที่อยู่รุ่นหลังที่จะทำการซ่อมแซมหรือบูรณะได้ ปัญหาเรื่องการสร้างวัตถุจะลดน้อยลง หรือสร้างแต่พอดีย่อมจะเร่งปัญญาให้ขึ้นมาทัน หรือเคียงคู่กับศรัทธาให้ได้ ถ้าตราบใดที่ชาวพุทธยังปล่อยให้ศรัทธานำหน้าปัญญาหรือไม่มีปัญญากำกับศรัทธาเลยตราบนั้น การแก้ปัญหาเรื่องการก่อสร้างวัตถุ ที่เกินความจำเป็นก็ไม่อาจจะทำได้ อีกทั้งพระพุทธเจ้าก็ไม่เน้นให้สร้างวัตถุ พระองค์ทรงเน้นในการปฏิบัติมากกว่า

     เมื่อเราได้ศึกษาถึงศาสนาว่าประกอบด้วยอะไรไปแล้วคราวนี้เราจะมาศึกษาถึงพุทธศาสนาที่แท้จริงหรือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ว่าสิ่งไหนเป็นพุทธ สิ่งไหนไม่ใช่พุทธ มาถึงตอนนี้บางคนอาจจะเกิดความคิดขัดแย้งว่า เราจะไปศึกษาได้อย่างไร ในเมื่อพุทธศาสนานั้นมีธรรมคำสั่งสอนตั้ง แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ เราจะมีเวลาไหนไปศึกษาค้นคว้ากันพออย่าพึ่งตกใจกันไปเลยพระพุทธศาสนานั้นมีคำสั่งสอนมากมายก็จริง อยู่ แต่ธรรมดาคำสั่งสอนที่จะนำมาใช้กับเรานั้นมีเพียง แค่กำมือเดียว เท่านั้น เพียงแต่เราจะนำมาใช้ให้ถูกที่หรือเปล่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญูา สอนให้คนรู้จักสัจจะแห่งชีวิต รู้จักตัวเอง พึ่งตัวเอง ไม่หวัง ไม่พึ่งในสิ่งที่มองไม่เห็นให้เชื่อในความสามารถของตนเอง โดยใช้ปัญญานำหน้าอยู่เสมอ ศาสนาพุทธนั้นสอนอยู่ภายในร่างกายของคน และสอนให้ปฏิบัติใหู้ร้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง ไม่ผูกขาดความเชื่อและความคิด แม้แต่พระศาสดาตรัสก็ยังไม่ให้เชื่อในทันที ซึ่งมีอยู่ในกาลามสูตร 1 0 ประการ คือ

     1. อย่าเชื่อโดยฟังตามๆ กันมา
     2. อย่าเชื่อโดยว่าเป็นของเก่าสืบ ๆ กันมา
     3. อย่าเชื่อโดยตื่นข่าว
     4. อย่าเชื่อโดยอ้างตำรา
     5. อย่างเชื่อโดยการเดา
     6. อย่าเชื่อโดยการคาดคะเน
     7. อย่าเชื่อโดยตรึกตรองตามอาการ
     8. อย่าเชื่อโดยชอบใจว่าต้องกับลัทธิของตน
     9. อย่าเชื่อโดยเชื่อว่าผู้พูดเป็นคนควรเชื่อได้
     1 0. อย่าเชื่อโดยนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา

     จากหลักไม่เชื่ออย่างงมงายทั้ง 1 0 ประการ ดังกล่าวแล้ว เราก็คงจะเข้าใจแล้วว่าศาสนาพุทธของเรานั้นไม่ใช่ศาสนาที่งมงายและไร้สาระ เพราะพุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาที่สามารถพิสูจน์ได้ และเราก็สามารถจะพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องไปเชื่อใคร หากเรานำเอาหลักทางพุทธศาสนาไปประพฤติปฏิบัติ เราก็ค้นพบสัจธรรมที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้ นอกจากหลักการพิจารณา 1 0 ประการดังกล่าวแล้ว หากยังมีผู้ใดสงสัยถึงสิ่งต่างๆว่าเราควรเชื่อหรือไม่เราสามารถจะนำหลัก 3 ประการนี้ไปพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง คือ
     1. ให้พิจารณาด้วยปัญญาจนทราบชัดด้วยตนเอง
     2.ให้อาศัยทัศนะของท่านผู้รู้ประกอบเป็นเครื่องตัดสินใจ
     3. ให้พิจารณาดูเหตุผลว่า ถ้านำสิ่งนั้นไปปฏิบัติแล้ว จะมีคุณหรือโทษ จะให้ความสุขหรือความทุกข์

     จากหลักต่างๆ ที่นำมาเสนอแล้วเป็นหลักการโดยทั่วๆไปเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าสมควรจะเชื่อหรือไม่ แต่หลักการที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นหลักที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาของเราโดยตรง และเป็นเครื่องชี้วัดว่าหลักธรรมต่างๆ ที่กล่าวขึ้นมาจากบุคคลใดก็ตามเป็นธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าที่แท้จริงหรือไม่ ก็ต้องใช้หลัก 8 ประกาศิตจากโคตมีสูตร เป็นเครื่องตัดสิน กล่าวคือ คำสอนอันใดเป็นไป เพื่อ........
     1. คลายความกำหนัดย้อมใจ
     2. ปราศจากทุกข์
     3. ไม่สะสมกองกิเลส
     4. ความอยากอันน้อย
     5. ความสันโดษ
     6. ความหลีกเร้นจากหมู่คณะ
     7. ความเพียร
     8. ความเลี้ยงง่าย

     ธรรมเหล่าใดที่มีลักษณะตรงข้ามกับหลัก 8 ประการข้างต้นนี้แม้เพียงข้อใดข้อหนึ่ง พึงรู้ว่านั้นไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสอนของพระบรมศาสดา มาถึงตอนนี้ท่านผู้อ่านก็คงจะได้รับความรู้และหลักการต่างๆ ที่จะนำไปเปรียบเทียบและแยกแยะว่าธรรมใดเป็นของจริงและธรรมใดเป็นของไม่จริง ที่เราจะนำไปใช้และประพฤติปฏิบัติสืบไป หากสิ่งใดที่เห็นว่าไม่มีประโยชน์ไร้สาระและเป็นของไม่จริงแล้ว เราก็สามารถตัดทิ้งไปได้ โดยไม่เสียความรู้สึกของตนเอง อีกทั้งเราจะได้มีความรู้สึกอันดีต่อพุทธศาสนาของเรา รวมทั้งจะได้ช่วยกันทำนุบำรุงพระศาสนาให้เจริญยิ่งขึ้นไป

     จากข้อความดังกล่าวแล้วข้างต้น ผู้เขียนได้หยิบยกหลักการต่างๆ นำมาเสนอแก่ท่านเพื่อที่จะได้ให้ท่านได้นำไปใช้และปฏิบัติด้วยตนเอง แล้วผลที่บังเกิดขึ้นก็จะเป็นประโยชน์ต่อตัวของท่านเอง อีกทั้งเป็นแนวทางในการตัดสินใจของท่านอีกด้วย
     ......ธรรมเทศนา ที่ยังเป็นเพียงคำสอนอยู่นั้น ยังช่วยใครไม่ได้ถ้าเมื่อใดคำสอนนั้น ๆ มีผู้เห็นด้วย แล้วพากันทำตาม เมื่อนั้นคำสอนเหล่านั้นก็จะกลายเป็นองค์พระธรรม ซึ่งสามารถคุ้มครองผู้เห็นจริง แล้วปฏิบัติตาม เหมือนเครื่องกั้นฝนใหญ่ช่วยคุ้มฝนให้ในฤดูฝน...... แก่นแท้
     พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นมีอยู่ตั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ แต่หลักหรือแก่นมีเพียงไม่กี่อย่าง ซึ่งเราจะพอได้ยินมาบ้างแล้วว่า พระพุทธเจ้าเปรียบพระธรรมคำสั่งสอนเหมือนกับใบไม้ทั้งป่า แต่ก็มีหลักหรือแก่นจริงๆ เพียงแค่กำมือเดียวเท่านั้นหรือเปรียบเทียบเหมือนกับต้นไม้ใหญู่ ย่อมมีสะเก็ด มีเปลือก มีกระพี้ มีแก่น มีกิ่ง มีใบ มีดอกและมีผล สิ่งที่แฝงมากับพระพุทธศาสนา คือ พวกอิทธิปาฏิหารย์ เครื่องลางของขลัง น้ำมนต์ พิธีกรรมต่างๆ จัดเป็นกระพี้ เป็นสะเก็ด หรือเปลือก ของพุทธศาสนาสำหรับผู้ที่ต้องการแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ไม่ควรที่จะติดอยูแค่นี้ จะต้องผ่านสิ่งเหล่านี้เข้าไปถึงแก่นของพุทธศาสนา ก็คือ
สัจธรรม หรือธรรมที่จะทำให้เราพ้นทุกข์
     แก่นอันแรก คือ อริยสัจ 4 อริยสัจ แปลว่า “สัจจะของผู้เจริญ” อริยสัจ 4 กล่าวถึงมูลเหตุแห่งการเกิดทุกข์ และการดับทุกข์ กล่าวคือ
     1. ทุกข์ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิต และความโศก ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจความพลัดพราก และความปรารถนาไม่สมหวัง กล่าวโดยย่อก็คือกายและใจนี้เองที่เป็นต้นเหตุของทุกข์ต่างๆ
     2. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตใจ เพื่อปรารถนาอยากได้ในสิ่งต่างๆ
     3. นิโรธ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยาก ดังกล่าว
     4. มรรค ทางปฏิบัติให้ถึง ความดับทุกข์ โดยมีองค์ 8 คือ
     1. ความเห็นชอบ คือ เห็นเหตุผลตามความเป็นจริง
     2. ความดำริชอบ คือ คิดออกจากสิ่งที่ผูกพันให้เป็นทุกข์
     3. วาจาชอบ คือ เว้นจากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด ให้แตกร้าวกัน เว้นพูดคำหยาบ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ไม่เป็นประโยชน์
     4. การงานชอบ คือ เว้นจากการฆ่า การทรมาน เว้นจากการลัก เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
     5. เลี้ยงชีวิตชอบ คือ เว้นจากการมิจฉาอาชีวะ (อาชีพผิด)
     6. เพียรพยายามชอบ คือ เพียงระวังบาปที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว เพียงทำกุศลที่ยังไม่เกิดขึ้น เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อม แต่ให้เจริญยิ่งขึ้น
     7. ระลึกชอบ คือระลึกไปในทางที่ตั้งของสติที่ดีทั้งหลายเช่น ในสติสัมปัฏฐาน 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
     8. ตั้งใจชอบ คือทำให้ใจเป็นสมาธิ ในเรื่องที่ตั้งใจจะทำในทางที่ชอบ
     จากแก่นแท้อันแรกเราพอจะทราบแล้วว่า พุทธศาสนานั้นไม่ได้อยู่ไกลจากเราเลย เพียงแต่เรายังไม่รู้ ไม่เข้าใจว่าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นทุกวันกับชีวิต และตัวเรานั้น เป็นสัจธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรงได้คิดค้นขึ้นมา ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วเราควรนำ อริยสัจ 4 นี้นำมาใช้กับชีวิตประจำวัน เพื่อที่จะได้ไม่ทำให้เกิดทุกข์ขึ้นมาหากมีทุกข์เกิดขึ้น ก็นำเอาวิธีการของพระพุทธเจ้าไปใช้ดับทุกข์โดยไม่ต้องวิ่งไปหาใครต่อใครมาช่วยดับทุกข์ให้เรา เพราะว่าทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้น เราเป็นผู้สร้างขึ้น ดังนั้นผู้ที่จะดับทุกข์ได้ดีที่สุดก็คือตัวของเราเอง โดยนำเอาวิธีการต่างๆ ในอริยสัจ 4ประการนี้ นำไปใช้ปฏิบัติ ก็จะสามารถดับทุกข์ของเราได้
     แก่นแท้อันที่สองก็คือ ไตรลักษณ์ หมายถึง ลักษณะที่มีอยู่ทั่วไป ได้แก่ สังขารทั้งปวง คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
     อนิจจัง คือไม่ดำรงอยู่เป็นนิจนิรันดร์ เพราะเมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องดับในที่สุด ทุก ๆ สิ่งจึงมีหรือเป็นอะไรขึ้นมาอยู่เพียงชั่ว คราวเท่านั้น
     ทุกขัง คือ สิ่งทั้งปวงมีลักษณะเป็นความทุกข์ทรมานอยู่ในตัวของมันเอง
     อนัตตา คือ การบอกให้รู้ว่าบรรดาสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่มีอะไรที่เราจะควรเข้าไปยึดมั่นว่าเป็นของเรา ด้วยเหตุผล 4ประการ คือ
     1. สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นเพียงสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นมาโดยอาศัยเหตุและปัจจัยต่าง ๆ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดกาลครั้งเมื่อสิ้นสุดเหตุและปัจจัยแล้ว สิ่งนั้นก็จะดับสลายไปตามธรรมชาติของมัน ฉะนั้นสิ่งทั้งปวงจึงไม่ใช่ตัวตนที่เที่ยงแท้ถาวร
     2. เมื่อสิ่งทั้งปวงไม่ใช่ตัวตนอันเที่ยงแท้ ใครไปหลงยึดว่ามันเที่ยง พอมันเปลี่ยนแปลงลงไปก็เป็นทุกข์
     3. เราไม่สามารถที่จะไปบังคับบัญชาให้สิ่งทั้งปวงเป็นไปตามใจของเราได้ เช่น ร่างกายของเรา เมื่อเกิดมาล้วนก็ต้องเปลี่ยนแปรไปตามสภาพ คือ ต้องแก่ ต้องเจ็บ และตายในที่สุด ใครๆ ก็ห้ามมันไม่ได้
     4. เราจะอ้างว่า เราเป็นเจ้าของอันแท้จริงของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นไม่ได้ เพราะสิ่งต่าง ๆ มันไม่เที่ยง ถึงเราจะชื้อมันมาครอบครองตามกฎหมาย ก็เป็นเจ้าของได้เพียงชั่วระยะหนึ่งเท่านั้นไม่ช้ามันก็จะแตกดับไป หรือตัวของเราเองตายไปก่อน เราก็ไม่ใช่เจ้าของสิ่งนั้นอีก
     จากแก่นแท้อันที่สอง เราพอจะรู้ว่าการที่คนเราต้องมีความทุกข์ต่างๆ อยู่ตลอดเวลา เพราะว่าเรามัวไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นของเราอยู่ตลอดเวลา หากเราเข้าใจได้อย่างถ่องแท้แล้ว เราก็จะไม่มีความทุกข์หรือจะมีก็น้อยลง เพราะเข้าใจในหลักไตรลักษณ์ ว่าทุกสิ่งย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และทุกสิ่งทุกอย่างไม่ใช่ของตัวเรา ย่อมมีการดับสูญูเปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุและปัจจัยต่างๆ หากเราเข้าใจได้แล้ว เราก็จะมีความสุขได้ไม่ต้องมานั่งเสียอกเสียใจในสิ่งที่เสียไป
     ดังนั้นพุทธศาสนา คือ ศาสนาที่ทำให้เรารู้ว่าอะไรเป็นอะไร เป็นศาสนาที่เกี่ยวกับความจริง เราจึงต้องปฏิบัติจนเรารู้ได้เอง เมื่อรู้ถึงที่สุดแล้วก็ไม่ต้องกลัวกิเลสตัณหาต่างๆ เพราะจะถูกความรู้ที่ได้รับทำลายสิ้นไป ความไม่รู้สึกจะดับไปทันที
     ท่านทั้งหลายจงตั้งใจมั่นในทางที่จะเข้าถึงพระพุทธศาสนาด้วยการปฏิบัติให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรเท่านั้น แต่เราต้องรู้ในสิ่งที่ถูกต้อง รู้ด้วยความเห็นแจ้งจริงๆ อย่ารู้อย่างโลกๆ รู้ครึ่งๆ กลางๆ ซึ่งไปหลงในสิ่งที่ไม่ดีว่าดี หลงสิ่งที่เป็นที่เกิดของความทุกข์ ว่าไม่เกิดทุกข์ ดังนี้ เป็นต้น
     ถ้าศึกษาพุทธศาสนาโดยวิธีนี้แล้ว พวกเราที่มีสติปัญญาน่าจะมาพินิจพิจารณาสิ่งทั้งปวงให้รู้ตามที่เป็นจริงได้ ฉะนั้นเมื่อถูกความทุกข์ใดๆ เข้าแก่ตัวเอง ก็จะต้องศึกษาสิ่งนั้นให้เข้าใจแจ่มแจ้งว่ามันเป็นอย่างไรกันแน่ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นและกำลังเผาเราให้เราร้อนอยู่นั้น มันคืออะไร เป็นอย่างไร มาจากไหน เมื่อเรารู้อะไรเป็นอะไรถูกต้องจริงๆ แล้ว ไม่ต้องมีใครมาสอนเรา หรือมาแนะนำเรา เราก็จะปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ ถูกต้องได้ด้วยตนเอง แล้วกิเลสก็จะหมดไปเอง เราก็จะเป็นอริยบุคคลชั้นใดขั้นหนึ่งขึ้นมาทันทีเราก็จะลุล่วงถึงสิ่งที่ดีที่มนุษย์ควรจะได้ หรือที่ชอบเรียกกันว่า มรรคผล นิพพาน นี้ได้ด้วยตนเอง เพราะการที่เรามีความรู้ว่าอะไรเป็นอะไรได้โดยถูกต้องอย่างแท้จริงนั่นเอง
 

ถ้าจะอยู่ในโลกนอย่างมีสุข
อย่าประยุกต์สิ่งทั้งผองเป็นของฉัน
มันจะสุมเผากระบาลท่านทั้งวัน
ต้องปล่อยมันเป็นของมันอย่าผันมา
จะหามามีไว้ใช้หรือกิน
ตามระบิลอย่างอิ่มหนำก็ทำได้
โดยไม่ต้องมั่นหมายให้อะไร
ผูกยึดไว้ว่าตัวกูหรือของกู

NEXT PAGE

Enter supporting content here