Home ] ประวัติหน้ารู้ ] แนะนำบุคลากร ] [ มรรยาทไทย ] ธรรมเพื่อชีวิต ] สาระ และ ข่าว ] เกี่ยวกับผู้สร้าง ]

มรรยาทไทย



  • การเดิน
    • การเดินนำเสด็จ

      เมื่อพระบาทสดเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ หรือสมเด็จพระบรมวงศ์ เสด็จฯ มาถึง ประธานจัดงานหรือเจ้าภาพที่คอยรับเสด็จฯ ถวายความเคารพ กราบบังคมทูลแล้วถวายรายงาน ในโอกาสนี้จะเบิกผู้ที่สมควรเข้าเฝ้าด้วยก็ได้ แล้วจึงเดินนำเสด็จ ฯ ไปยังสถานที่ที่กำหนด โดยปฏิบัติดังนี้

      • เดินเยื้องไปข้างหน้าไว้ระยะห่วงพอสมควร จะอยู่ด้านใน แล้วแต่สถานที่จะอำนวย แต่โดยปกติผู้นำเสด็จจะอยู่ด้านซ้ายของพระองค์ท่าน ในการเสด็จพระราชดำเนินบนลาดพระบาท ผู้นำเสด็จต้องไม่เดินบนลาดพระบาท
      • ขณะที่เดิน ผู้นำเสด็จจะต้องเดินในลักษณะสำรวม
      • เมื่อถึงที่ประทับผู้นำเสด็จถวายความเคารพ
      • ก่อนจะถอยออกไป ผู้นำเสด็จถวายความเคารพอีกครั้งหนึ่ง และเมื่อจะนั่งที่ ต้องถวายความเคารพอีกครั้งหนึ่ง

  • หมายเหตุ..การถวายความเคารพนั้น ให้ผู้เสด็จตามความเหมาะสมแก่เครื่องแบบและเพศของตน
  • การเดินตามเสด็จ
    • การเดินตามเสด็จ ทั้งชายและหญิงให้เดินเบื้องหลังพระองค์ท่าน ในลักษณะที่สำรวมไม่ยิ้มหัว ทักทายหรือทำความเคารพผู้อื่น ถ้ามีลาดพระบาทผู้ที่ตามเสด็จต้องไม่เดินบนลาดพระบาท
  • การเดินผ่านผู้ใหญ่   การเดินผ่านผู้ไหญ่ไม่ควรเดินลงส้น หรือมีเสียงดังและต้องผ่านให้ระยะห่างพอสมควร
    • ขณะผู้ใหญ่ยืน     ทั้งชายและหญิงให้เดินผ่านในลักษณะสำรวม ปล่อยมือไว้ข้างตัว ค้อมตัวพร้อมย่อเข่าเมื่อใกล้ถึงผู้ใหญ่
    • ขณะผู้ใหญ่นั่งเก้าอี้    ทั้งชายและหญิงให้เดินผ่านในลักษณะสำรวมปล่อยมือไว้ข้างตัว ค้อมตัวพร้อมกับย่อเข่าเมื่อใกล้ถึงผู้ใหญ่นั่งเก้าอี้อยู่ แต่ถ้าในบ้านจะเดินเข่าก็ได้
    • ขณะผู้ใหญ่นั่งหรือนอนกับพื้น    ทั้งชายและหญิงให้เดินผ่านในลักษณะสำรวมเมื่อถึงที่ผู้ใหญ่นั่งอยู่ให้ทรุดตัวลงเดินเข่า เมื่อผ่านผู้ใหญ่ไปแล้ว ค่อยลุกขึ้นเดิน

  • การนั่ง
    • การนั่งพับเพียบ
      • การนั่งพับเพียบต่อหน้าผู้ใหญ่    อาจนั่งในท่าใดท่าหนึ่งตามความเหมาะสม แต่ไม่ควรเท้าแขน สายตาทอดลงเล็กน้อย และไม่จ้องผู้ใหญ่จนเสียกิริยา การนั่งลักษณะนี้ใช้ได้ทั้งหญิงและชาย
      • นั่งพับเพียบตัวตรง เก็บปลายเท้าโดยเบนปลายเท้าเข้าหาสะโพก มือทั้งสองข้างประสานกันวางไว้บนหน้าขา ถ้านั่งพับเพียบขาขวา ทับขาซ้าย วางมือที่ประสานบนหน้าขาซ้ายถ้านั่งพับเพียบข้าซ้ายทับขาขวา วงมือที่ประสนบนหน้าขาขวา หรือบริเวณหน้าขาจุดใดจุดหนึ่งที่เหมาะสมสวยงาม
      • วิธีประสานมือ ให้ปฏิบัติอาการสำรวม อาจใช้อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
        • ใช้มือซ้ายหงาย หรือขวาคว่ำทับ หรือมือขวาหงายมือซ้ายคว่ำทับ
        • ใช้มือทั้งสองคว่ำทับกัน จะเป็นมือใดทับมือใดก็ได้
        • สอดนิ้วระหว่างช่อนิ้วของแต่ละมือ คล้ายการประนมมืออย่างหลวม ๆ
      • ถ้าเป็นการเข้าพบผู้ใหญ่เพื่อนำสิ่งของไปให้ หรือเมื่อสนทนากับผู้ใหญ่ แล้วผู้ใหญ่ให้ของ ควรจะนั่งพับเพียบขาขวาทับขาซ้ายเพื่อสะดวกในการรับของจากผู้ใหญ่เพราะเราจะส่งของหรือรับของกันด้วยมือขวา
    • การนั่งหมอบ    นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้า หมอบลงไปให้ศอกข้างใดข้างหนึ่งลงถึงพื้น ถ้าขาข้างใดแนบพื้นก็ให้ศอกทั้งสองข้างนั้นลงถึงพื้นด้วย มือประสานกัน ไม่ก้มหน้าสายตาทอดต่ำ

  • การแสดงความเคารพ
    • การประนมมือ     (อัญชลี)   ประนมมือให้นิ้วแนบชิดกัน ฝ่ามือราบปลายนิ้วตั้งขึ้น แขนแนบตัวระดับอก ไม่กางศอก ทั้งชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน การประนมมือนี้ใช้การสวดมนต์ ฟังพระสวดมนต์ ฟังพระธรรมเทศนา และขณะพูดกับพระสงฆ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ เป็นต้น
    • การไหว้ (วันทา)  การไหว้เป็นการแสดงความเคารพโดยการประนมมือให้นิ้วชิดกันยกขึ้นไหว้ การไหว้แบบไทยแบ่งออกเป็น ๓ ระดับดังนี้
      • ระดับที่ ๑   การไหว้พระ   ได้แก่การไหว้พระรัตนตรัยรวมทั้งปูชนียวัตถุและปูชนียสถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่สามารถกราบแบบเบญจางค์ประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือให้ปลายนิ้วชี้จรดส่วนบนของหน้าผาก
      • ชาย   ยืนแล้วค้อมตัวลงให้ต่ำพร้อมกับยกมือไหว้
      • หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลงให้ต่ำโดยถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัดพร้อมยกมือขึ้นไหว้
      • ระดับที่ ๒  การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้มีอาวุโส ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถืออย่างสูง โดยประนมมือให้ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว
      • ชาย   ยืนแล้วค้อมตัวลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระ พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้
      • หญิง   ยืนแล้วย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระ โดยถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งเล็กน้อย พร้อมยกมือไหว้
      • ระดับที่ ๓  การไหว้บุคคลทั่วไป ที่เคารพนับถือ หรือผู้มีอาวุโส รวมทั้งผู้ที่เสมอกันโดยประนมมือยกขึ้นให้ปลายนิ้วชี้จรดปลายจมูก
      • ชาย   ยืนแล้วค้อมตัวลงเล็กน้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมยกมือไหว้
      • หญิง   ยืนแล้วย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ   โดยถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งเล็กน้อย แล้วยกมือไหว

  • การกราบ
    • การกราบแบบเบญจาคประดิษฐ์   ใช้กราบพระรัตนตรัย หมายถึงการกราบที่ใช้อวัยวะทั้ง ๕ คือ เข่า ๒ มือ ๒  หน้าผาก ๑ จรดพื้น การกราบจะมีอยู่ ๓ จังหวะและจะต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมกราบ
    • ท่าเตรียม
      • ชาย   นั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่งบนสนเท้า   มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้งสองข้าง (ท่าเทพบุตร)
      • หญิง นั่งคุกเขาปลายเท้าราบ นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้งสองข้าง (ท่าเทพธิดา)
    • จังหวะที่ ๑     (อัญชลี)   ยกมือขึ้นประนมระหว่างอก ปลายนิ้วชิดกันตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก
    • จังหวะที่ ๒    (วันทา)   ยกมือขึ้นพร้อมกับก้มศีรษะ โดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก
    • จังหวะที่ ๓    (อภิวาท) ทอดมือลงกราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน มือคว่ำห่างกันเล็กน้อย พอให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือได้
      • ชาย  ให้กางศอกทั้งสองข้างลง ต่อจากเข่าขนานไปกับพื้น หลังไม่โก่ง
      • หญิง ให้ศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็กน้อย
    • ทำสามจังหวะให้ครบสามครั้ง แล้วยกมือขึ้นจบโดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผากแล้วปล่อยมือลง กราบไม่ควรให้ช้าหรือเร็วเกินไป