กู้ยืม l จำนอง l ขายฝาก l ฟ้องขับไล่ l มรดก l คำพิพากษาศาลฎีกา l แนะนำสำนักงานทนายความ
 กระดานคำถาม l ทนายบอร์ด l สมุดเยี่ยม l เวบลิ้งค์ l เพิ่มลิ้งค์ l



การสมัครเข้าเป็นนักศึกษา

1. คุณสมบัติ  ผู้เป็นนักศึกษาในสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาต้องเป็น

        (1)  ผู้สอบไล่ได้ปริญญาตรีทางนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยรามคำแหงขึ้นไป

        (2)  ผู้ที่ได้ศึกษาวิชานิติศาสตร์ในสถาบันอื่น ในหรือนอกประเทศไทย และสอบไล่ได้ตามมาตราฐานซึ่งคณะกรรมการอำนวยการอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เทียบให้ไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะดังกล่าว ใน(1) ซึ่งในทางปฏิบัติ คณะกรรมการอำนวยการอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ได้เทียบระดับปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาที่ทบวงมหาวิทยาลัยได้รับรองมาตราฐานการศึกษาแล้ว

2. ระยะเวลารับสมัคร 

กำหนดเปิดรับนักศึกษาใหม่ตั้งแต่ประมาณเดือนพฤษภาคม จนถึง เดือนสิงหาคม ของทุกปี ส่วนนักศึกษาเก่าต้องชำระค่าศึกษาภายในเดือนมิถุนายนเท่านั้น ถ้าไม่ชำระภายในกำหนดเป็นอันพ้นจากสถานภาพนักศึกษา นับตั้งแต่วันสิ้นสุดการชำระค่าศึกษา หากประสงค์จะกลับเข้าศึกษาใหม่ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่พ้นสถานภาพนักศึกษา ก็สามารถต่อทะเบียนอย่างนักศึกษาเก่าได้ พร้อมทั้งชำระค่าปรับเพิ่มอีก 500 บาท แต่ถ้าพ้นสถานภาพนักศึกษาเป็นเวลาเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันที่พ้นสถานภาพนักศึกษา จะต้องดำเนินการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ และเสียค่าปรับเพิ่มอีก 1,000 บาท

3. ค่าธรรมเนียมในการศึกษา 

นักศึกษาใหม่

 ค่าจดทะเบียนนักศึกษา
200 บาท
 ค่าคู่มือการศึกษา
20 บาท
 ค่าสมุดประจำตัวนักศึกษา
50 บาท
 ค่าภาคีสมาชิกปีละ (ถ้าเป็นสมาชิกวิสามัญของเนติบัณฑิตแล้วไม่ต้องเสีย)
50 บาท
 ค่าศึกษาภาคปกติสมัยละ
1,500 บาท
 (ถ้านักศึกษาภาคค่ำต้องเสียเพิ่มอีกภาคละ)
700 บาท
 ค่าบำรุงห้องสมุดสมัยละ
200 บาท
 ค่าสมัครสอบภาคละ
500 บาท

นักศึกษาเก่า

 ค่าคู่มือการศึกษา
20 บาท
 ค่าภาคีสมาชิกปีละ (ถ้าเป็นสมาชิกวิสามัญของเนติบัณฑิตแล้วไม่ต้องเสีย)
50 บาท
 ค่าศึกษาภาคปกติสมัยละ
1,500 บาท
 (ถ้านักศึกษาภาคค่ำต้องเสียเพิ่มอีกภาคละ)
700 บาท
 ค่าบำรุงห้องสมุดสมัยละ
200 บาท
 ค่าสมัครสอบภาคละ
500 บาท

4. หลักฐานการสมัคร 

1.  นักศึกษาต้องยื่นใบสมัครด้วยตนเอง

2.  รูปถ่ายขนาด 1.5 นิ้ว หน้าตรงไม่สวมหมวก แต่งกายชุดสากลนิยม สวมเสื้อเชิ้ตมีผ้าผูกคอแบบเงื่อนกะลาสี สวมครุยวิทยฐานะ จำนวน 3 รูป

3.  หลักฐานการสอบไล่ได้ ให้นำปริญญาทางนิติศาสตร์จากสถาบันการศึกษา ที่คณะกรรมการอำนวยอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภารับรองมาแสดง เว้นแต่ที่ยังมิได้รับปริญญาบัตร ให้นำหนังสือสำคัญซึ่งสภามหาวิทยาลัย หรือวิทยาลัยอนุมัติปริญญาแล้วมาแสดง

4.  ในกรณีที่มีการเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนชื่อสกุล ชื่อสกุลไม่ตรงกับบิดา หรือไม่ตรงกับชื่อสกุลที่ปรากฏอยู่ในปริญญาบัตร ต้องนำใบเปลี่ยนชื่อ ใบเปลี่ยนชื่อสกุลมาแสดง

5.  กรณีที่ประสงค์จะสมัครเรียนภาคค่ำด้วย จะต้องเพิ่มรูปถ่ายอีก 1 รูป พร้อมทั้งชำระค่าศึกษาภาคค่ำ

6.  สำเนาทะเบียนบ้าน (นำต้นฉบับมาแสดงด้วย)

7.  ใบแต่งตั้งยศ (ถ้ามี)

8.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

หลักสูตรการเรียนการสอน

 ภาคเรียนที่หนึ่ง 

กฎหมายอาญา l  กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีในศาลแรงงาน l  รัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง l  ทรัพย์-ที่ดิน l  นิติกรรม-สัญญา l  หนี้ l  ละเมิด l  ซื้อขาย-แลกเปลี่ยน-ให้ l  เช่าทรัพย์-เช่าซื้อ-จ้างแรงงาน-จ้างทำของ l  ยืม-ค้ำประกัน-จำนอง-จำนำ l  ตัวแทน-ประกันภัย-ตั๋วเงิน-บัญชีเดินสะพัด l  หุ้นส่วน-บริษัท l  ครอบครัว l  มรดก l  กฎหมายภาษีอากร l  กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา l  กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ

 ภาคเรียนที่สอง 

กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง l  กฎหมายล้มละลาย l  พระธรรมนูญศาลยุติธรรม l  วิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงและวิธีพิจารณาในศาลเยาวชนและครอบครัว l  กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา l  สิทธิของบุคคลตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา l  กฎหมายพยานหลักฐาน l  วิชาว่าความและการถามพยาน

การบรรยาย

สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา จัดให้มีการบรรยายในแต่ละภาคของการศึกษาเป็น ภาคปกติ ระหว่างเวลา 8.00-17.00 นาฬิกา ของวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ และ ภาคค่ำ ระหว่างเวลา 17.00-20.00 นาฬิกา ของวันจันทร์ถึงวันศุกร์ และวันเสาร์เวลา 8.00-17.00 นาฬิกา เว้นวันหยุดราชการ และจัดให้มีการบรรยายทบทวนในแต่ละภาคการศึกษาของทุกวันอาทิตย์ ระหว่างเวลา 8.00-17.00 นาฬิกา ซึ่งสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่แผนกตำราและคำบรรยาย โทร 887-6801-09 ต่อ 106 หรือ 887-6814

การจบหลักสูตร

ผู้ที่จะถือว่าจบหลักสูตรเป็นเนติบัณฑิตได้นั้น จะต้องสอบผ่านการสอบข้อเขียนทั้งสองภาค โดยในการสอบแต่ละภาคจะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไป และผ่านการสอบปากเปล่า ผู้ที่สามารถสอบผ่านภาคหนึ่งภาคใดได้ ไม่ต้องสอบข้อเขียนของภาคนั้นอีก แม้ว่าจะสอบข้อเขียนอีกภาคหนึ่งตก เมื่อสอบได้ทั้งสองภาคจึงมีสิทธิสอบปากเปล่า
การสอบปากเปล่า กรรมการผู้สอบจะวินิจฉัยเพียงว่า "สอบได"้ หรือ "สอบตก" เท่านั้น ถ้าผู้สอบปากเปล่าผู้ใดสอบตก ผู้นั้นมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่ากับคณะกรรมการซึ่งตั้งขึ้นเพื่อการนั้นในวันเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง ถ้าผู้สอบปากเปล่าตกในการเรียนสมัยใด(หรือปีใด) ผู้นั้นมีสิทธิสอบแก้ตัวอีกสามครั้ง หากยังสอบไม่ผ่านอีกเป็นครั้งที่สาม ให้ถือว่าการสอบข้อเขียนทั้งสองภาคที่ได้ไว้แล้วนั้นเป็นอันยกเลิก

รายละเอียดอื่นๆ

 - คำอธิบายรายวิชา
 - ปฏิทินการศึกษา
 - ประเภทของสมาชิกและการสมัครเป็นสมาชิก



กลับหน้าแรก

ติดต่อผู้จัดทำได้ที่  tanay27@hotmail.com
โฮมเพจนี้เกิดมาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2543

[an error occurred while processing this directive]