จำแนกตามสีหน้าหัวโขน
แม้ว่าจะมีการจำแนกหัวโขนเป็นที่หมายให้รู้ชื่อและหน้าที่ด้วยแบบอย่างลักษณะของเครื่องประดับหัวโขนแล้วแต่ตัวโขนก็ยังมีจำนวนมากกว่าแบบที่คิดได้เมื่อเป็นเช่นนี้ช่างทำหัวโขนคงจะได้แก้ปัญหาเพื่อความเข้าใจในการดูโขนด้วยวิธีการเขียนระบายสีพื้นส่วนใบหน้าหัวโขนให้เป็นสีต่าง ๆ กัน ออกไป ทำให้มีหัวโขนแปลกขึ้น และจำแนกแยกออกไปได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามจำนวนสีที่ใช้แต่ก่อนมีจำนวนจำกัดอู่ไม่กี่สี เป็นต้นว่า สีดำ สีขาว สีแดง สีคราม และสีเหลือง เรียกกันว่า สีเบญจรงค์ กำหนดไว้เป็นสีหลัก อาจใช้ผสมกันออกกันเป็นสีต่าง ๆ ได้มากหลายสี ขึ้นอยู่กับความรู้ความชำนาญของช่างเขียนแต่ละคนซึ่งมักปกปิดหวงแหนถือเป็นความลับ เป็นลูกเล่นและไม้ตายประจำตัว

สีต่าง ๆ ที่มีเขียนระบายบนพื้นหน้าหัวโขนเท่าที่ปรากฎและรวมไว้ได้ มีดังนี้
  • พวกสีแดง มีสีแดง สีแดงชาด สีแดงเสน สีดินแดง สีลิ้นจี่ สีหงสบาท สีหงดิน สีหงชาด สีหงเสน
  • พวกสีแสด สีดอกชบา สีฟ้าแลบ
  • พวกสีเหลือง มีสีเหลืองรง สีเหลืองดิน สีเหลืองอ่อน สีเหลืองเทา สีเลื่อมเหลือง สีเลื่อมประภัสสร
    สีจันทร์
  • พวกสีคราม มีสีคราม สีขาบ สีคราอ่อน สีดอกตะแบก สีมอคราม
  • พวกสีม่วง มีสีม่วง สีบัวโรย สีม่วงแก่ สีม่วงอ่อน
  • พวกสีเขียว มีสีเขียว สีก้ามปู สีน้ำไหล สีเขียวใบแค สีเขียวตังแช
  • พวกสีดำ มีสีดำ สีดำหมึก สีผ่านหมึก สีมอหมึก
  • พวกสีเทา มีสีเทา สีผ่านขาว สีเมฆ
  • พวกสีน้ำตาล มีสำน้ำรัก สีผ่านแดง

  จำแนกตามลักษณะใบหน้า

๑. หน้ามนุษย์และหน้าเทพยดา
ลักษณะหน้าโขนพวกนี้ปั้นหน้าเป็นหุ่นที่มีลักษณะละม้ายคล้ายมนุษย์ทั่วไป แต่ผลิตหู ตา จมูก ปาก ให้เป็นลักษณะกลาง ๆ ไม่อิงเค้าใบหน้าคนจริง ๆ คนใดคนหนึ่ง ฉะนั้นหน้าหุ่นหัวโขนที่เป็นหน้ามนุษญย์และหน้าเทพยดาจึงมีเค้าหน้าเหมือนกันทุก ๆ หัว และยังนิยมเป็นหุ่นและเขียนระบายให้ใบหน้าแสดงอารมณ์ร่าเริง ด้วยอาการยิ้มแย้มน้อย ๆ อยู่ในหน้าโดยใช้เส้นโค้งกลับขึ้นของส่วนปากกับไพรหนวดและดวงตาทั้ง 2 ซึ่งโค้งขึ้น โดยเฉพาะหน้าฤาษีจะสังเกตเห็นได้ชัดกว่าหน้าอื่น ๆ

 
 
  ๒.หน้าอมนุษย์
ส่วนใหญ่เป็นหน้ายักษ์ อมนุษย์ตนอื่นก็มีบ้างแต่ไม่มาก หัวหุ่นหน้ายักษ์นั้นแท้ที่จริงก็อาศัยต้นเค้าโครงจากใบหน้ามนุษย์ทั่วๆป แต่ภูมิหลังของยักษ์ตามท้องเรื่องเป็นพวกที่มีนิสัยดุร้าย โกรธง่าย นายช่างจึงคิดประดิษฐ์เลือกสรรค์เอาลักษณะความโกรธ ซึ่งปรากฎเห็ฯได้บนใบหน้ามาประดิษฐ์ปั้นและเขียนระบายใส่ลงบนใบหน้าของหัวหุ่นยักษ์

ลักษณะในตาของยักษ์ ทำเป็น 2 แบบ คือ
ตาลืมเบิกกว้าง เรียกกันว่าตาโพลง เช่นหน้าโขนทศกัณฐ์ อินทรชิต รามสูร
ตาหลบต่ำ เรียกกันว่าตาจระเข้ เช่น หน้าโขน พิราพ พญาทูษณ์ ตรีเศียร


 
 



ลักษณะของปากยักษ์ ทำเป็น 2 แบบ คือ
ปากแสยะ ทำเป็นลักษณะแสยะปากยิงฟันและเห็นเขี้ยว เช่น หน้าโขน พิราพ ทศกัณฐ์
กุมภกรรณ พิเภก
ปากขบ ทำปากในลักษณะขบฟันบนข่มริมฝีปากล่าง เช่น ตรีเศียร พญาขร อินทรชิต รามสูร
มังกรกัณฐ์

     
   
สีหน้าโขน ลักษณะใบหน้า
 
Copyright March 2003. All Right Reserved. Contact US E-mail : Tula1407@hotmail.com