ในการทำหัวโขนหน้าฤาษีจะทำแตกต่างกันเป็นหลายแบบ เช่น แตกต่างกันที่สี คือ จะมีหน้าสีทอง สีลิ้นจี่แดง สีม่วง สีกลีบบัว สีเนื้อ และสีจันทร์ เป็นตน ส่วนจอนหูนั้นจะทำเป็นแบบมีจอนหูเป็นลักษณะคล้ายครีบหางปลา กับจอนหูธรรมดาแบบที่ใช้กับเทริด และบางทีก็ไม่มีจอนหู ลักษณะหน้าจะทำเป็นแบบหน้าอ้วน หน้าผอม หน้ายิ้ม และหน้าดุ บางศีรษะทำเป็นแบบผ้าโพกศีรษะ สวมเทริดหนังเสือ สวมเทริดยอดบายศรี หรือยอดบวช หรือชฎาดอกลำโพง ลักษณะของฟันเป็นหน้ายิ้มเห็นฟันเต็มปากบ้างเห็นแต่ฟันบน 2 ซี่ หรือเห็นฟันบน 2 ซี่ ฟันล่าง 2 ซี่ หรือเป็นแบบไม่มีฟันก็มี แล้วสมมุติแทนพระฤาษีต่าง ๆ สำหรับสวมศีรษะในการแสดงตามบทบาทและลักษณะของฤาษีแต่ละตน แต่ในการแสดงปัจจุบันใช้การสวมเทริดฤาษีแทน


พระพรตมุนี
เป็นบรมครูแห่งการนาฎศิลป์ทั้งหลาย เป็นผู้รจนา (แต่ง) คัมภีร์ภรตนาฎศาสตร์ เป็นผู้จดจำท่ารำจากพระพรหม นำไปสอนโอรสทั้ง 100 คน เพื่อให้ไปเผยแพร่ยังโลกมนุษย์ จึงถือเป็นบรมครูแห่งการนาฎศิลป์ทั้งปวง มีการประดิษฐ์หัวโขนขึ้นบูชากับใช้ครอบศีรษะในพิธีไหว้โขนครูละคร



ฤาษีผู้สร้างกรุงอโยธยา มี 4 ตน
อจนคาวี - ฤาษี
ยุทธอักขระ - ฤาษี
ทะหะ - ฤาษี
ยาคะ - ฤาษี
ในการแสดงพระฤาษีทั้ง 4 ตน จะสวมชฎาดอกลำโพง เดิมในชมพูทวีป ณ ป่าทวารวดี ฤาษีทั้ง 4 ตน บำเพ็ญพรตอยู่เป็นเวลาแสนปี เมื่อสร้างกรุงขึ้นใหม่ในบริเวณที่อยู่ของพระฤาษี จึงเอาชื่อฤาษีทั้ง 4 ตน และชื่อป่ามาตั้งเป็นชื่อกรุงว่าทวารวดีศรีอโยธยา มีท้าวอโนมาตัน เป็นปฐมกษัตริย์




ฤาษีที่ชุบนางกาลอัจนา
โคดมหรือโคตม - ฤาษี
ในการแสดงจะสวมชฎายอดบายศรีสีกลีบบัว หรือสีกลัก
ฤาษีที่ทำพิธีหุงข้าวทิพย์ในกรุงอโยธยามี 5 ตน
กไลโกฎ-ฤาษ
ลักษณะหัวโขน ทำเป็นหัวฤาษีหน้าเนื้อ สวมเทริดฤาษียอดบายศรี หัวโขนบางหัวจะทำเขาโผล่ขึ้นมาอีกด้วย พระฤาษีกไลโกฎ เป็นบุตรพระมุนี ชื่อ อิสีสิงค์ บำเพ็ญพรตอยู่ในป่าศาลวัน เมืองพัทวิสัย แห่งท้าวโรมพัตตัน บิดาเคยสั่งห้ามมิให้แตะต้องสัตว์ซึ่งมีเขาที่อก มีตบะเดชแก่กล้าจนทำให้ฝนแล้งไปสามปี ท้าวโรมพัตตันใช้ให้พระธิดาชื่อ อรุณวดี ไปทำลายตบะ ฝนก็ตกต้องทั่วแผ่นดิน เมื่อพระกไลโกฎเสียตบะ และยังติดใจในกามรสจึงเข้าไปอยู่ในกรุงพัทวิสัยกับชายา ต่อมาท้าวทศรถไปทำพิธีขอโอรส พระกไลโกฎ ได้ไปเป็นประธานในการทำพิธี

Copyright March 2003. All Right Reserved. Contact US E-mail : Tula1407@hotmail.com