พระไตรปิฎกบาลีที่คนไทยนับถือ คือฉบับเดิมแท้ เก่าแก่ และสมบูรณ์ที่สุด พระพุทธศาสนาแบบที่เรานับถือกันอยู่ ซึ่งสืบต่อมาในประเทศไทยนี้ เรียกว่าพระพุทธศาสนาเถรวาท หรือบางทีก็ถูก เรียกว่า หินยาน ซึ่งตั้งอยู่บนฐานของคำสอนที่รักษามาในพระไตรปิฎกภาษาบาลี พระไตรปิฎกภาษาบาลีของเถรวาทนี้ เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นคำสอนดั้งเดิมแท้ของพระพุทธเจ้า เก่าแก่ ที่สุดเท่าที่จะสืบหาได้ แล้วรักษากันมาอย่างเคร่งครัด ทั้งแม่นยำที่สุดและครบถ้วนที่สุด เวลานี้ในโลกก็รู้กันอยู่ว่าพระพุทธศาสนามีนิกายใหญ่ 2 นิกาย คือ เถรวาท กับมหายาน นอกจากพระ พุทธศาสนาแบบเถรวาทอย่างของเรานี้ ก็มีพระพุทธศาสนาแบบมหายาน ที่มีในประเทศแถบเอเชียภาคเหนือ อย่าง ญี่ปุ่น จีน เกาหลี มองโกเลีย เป็นต้น รวมทั้งทิเบตซึ่งมักจะไม่ยอมเรียกตนเป็นมหายาน แต่เรียกตนว่าวัชร ยาน กลายเป็น 3 นิกาย ทั้งโลกนี้รู้กันอยู่และยอมรับกันทั่วไปว่า เถรวาทเป็นพระพุทธศาสนาดั้งเดิม พระไตรปิฎกบาลีก็เป็นพระ ไตรปิฎกดั้งเดิม ชาวพุทธฝ่ายมหายานก็ยอมรับเช่นนั้น นักปราชญ์ที่เชี่ยวชาญด้านมหายานนั่นแหละ พูดออกมา เองอย่างเต็มปาก ยกตัวอย่างด้านจีน เช่น Professor Soothill ผู้รวบรวมพจนานุกรมศัพท์พระพุทธศาสนาภาษาจีน เขียน ไว้ในคำ "มหายาน" ว่า "Mahayana . . . is interpreted as มหายาน (คำจีน) the greater teaching as compared with หินยาน (คำจีน ) the smaller, or inferior. Hinayana, which is undoubtedly nearer to the original teaching of the Buddha, is unfairly described as an endeavour to seek nirvana through an ash- covered body, an extinguished intellect, and solitariness; . . ."1 "มหายาน . . . ได้รับการแปลความหมายให้เป็นหลักธรรมที่ยิ่งใหญ่กว่า โดยเปรียบเทียบกับ "หินยาน" ซึ่ง(ถูกแปลความหมายให้) เป็นหลักธรรมที่เล็กน้อยหรือด้อยกว่า. หินยาน ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าใกล้เคียงกับคำ สอนดั้งเดิมของพระพุทธเจ้ามากกว่า ถูกกล่าวขานอย่างไม่เป็นธรรม ว่าเป็นความพยายามที่จะแสวงนิรวาณ (นิพพาน) ด้วยอาศัยกายที่หมกเถ้าธุลี ปัญญาที่ดับอับแสง และการปลีกตัวหลีกเร้น; . . ." ตัวอย่างด้านญี่ปุ่น เช่น Professor Mizuno ได้เขียนหนังสือไว้ ให้รู้ว่า ". . . of all the sects and schools of Buddhism, Theravada Buddhism, one of the major Hinayana schools, is the only one that possesses a complete canon in a single language." 2 "ในบรรดาพุทธศาสนาทั้งหมดทุกนิกายนั้น พุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งเป็นนิกายใหญ่นิกายหนึ่งในสาย หินยาน เป็นพุทธศาสนานิกายเดียว ที่มีพระไตรปิฎกครบถ้วนบริบูรณ์อยู่ในภาษาเดียว" ตัวอย่างด้านประเทศตะวันตก T. O. Ling ก็เขียนไว้ใน Dictionary ของเขาทำนองเดียวกันว่า "Tipitaka The canon of Buddh. scripture in Pali, regarded as authoritative by the Theravada; it is earliest form of Buddh. teaching available and the most complete"3 "ติปิฏก คัมภีร์หลักของพระพุทธศาสนาในภาษาบาลี ซึ่งเถรวาทยึดถือเป็นแบบแผน ติปิฏกเป็นคำ สอนของพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมสุดเท่าที่มีอยู่ และสมบูรณ์ที่สุด" เรื่องที่ว่าพระไตรปิฎกบาลีเก่าแก่ เดิมแท้ ครบถ้วนที่สุดนี้ เป็นที่รู้และยอมรับกันทั่ว แต่ที่ก้าวไปไกลกว่า นั้น ก็คือการที่ปราชญ์มหายาน รวมทั้งในประเทศมหายานเอง ยอมรับด้วยว่าคัมภีร์ของตนไม่ใช่พุทธพจน์แท้จริง จนกระทั่งเห็นว่าจะต้องหันมาศึกษาพระไตรปิฎกบาลีของเถรวาทด้วย ยกตัวอย่าง นาย Christmas Humphreys ที่ เอกสารของวัดพระธรรมกาย ยกย่องให้เป็น "ปราชญ์ ใหญ่ทางพระพุทธศาสนาในดินแดนตะวันตก ที่มีชื่อเสียงก้องโลก" ได้เขียนไว้ในหนังสือตำราอ้างอิงของเขาให้รู้ ว่า พระสูตรของมหายานไม่ใช่คำตรัสของพระพุทธเจ้า ดังความว่า "The Suttas of the Theravada are presented as actual sermons of the Buddha; those of the Mahayana are frankly later compilations put into his mouth" 1 " พระสูตรทั้งหลายของเถรวาทนั้น ท่านนำเสนอไว้โดยเป็นพระธรรมเทศนาที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า; ส่วน พระสูตรทั้งหลายของมหายาน พูดกันตรงไปตรงมาก็คือ คำนิพนธ์ยุคหลังที่บรรจุเข้าในพระโอษฐ์" ในประเทศญี่ปุ่น ความตื่นตัวของมหายานที่จะมาถึงขั้นนี้ ต้องผ่านความกระทบกระทั่งเจ็บปวดกันบ้าง อย่างที่ Dr. Mizuno เขียนเล่าตอนหนึ่งว่า "Dr. Murakami stated that Shakyamuni is the sole historical Buddha and that Amitabha Buddha . . . never existed . . . clearly the statement that Shakayamuni did not expound Mahayana teachings is consistent with historical evidence."2 "ดร.มูรากามิ กล่าวว่า พระศากยมุนีเป็นพระพุทธเจ้าที่มีอยู่พระองค์เดียวในประวัติศาสตร์ และกล่าวว่า พระอมิตาภพุทธะ ที่ศาสนิกนิกายสุขาวดีทั้งหลายนับถือนั้น ไม่เคยมีจริง . . . คำกล่าวที่ว่าพระศากยมุนีมิได้ตรัส แสดงคำสอนของมหายานนั้น เป็นการสอดคล้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างแจ้งชัด" Dr. Mizuno ได้เขียนถึงสภาพปัจจุบันว่า ". . . in Japan it is commonly held that, for a correct understanding, a thorough study of Mahayana Buddhism must include both primitive and fundamental Buddhism. The study of Pali sutras has served three important purposes. It has helped to provide a correct understanding of both primitive and fundamental Buddhism as the basis of Buddhism; to advance unity and cooperation among Japanese Buddhists of different sects, since the Mahayana Buddhist sects all originate in the same sourcesัprimitive and fundamental Buddhism; and to provide agreement that Shakyamuni was the founder of Buddhism."1 ". . . ในประเทศญี่ปุ่น ได้ยึดถือร่วมกันว่า เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง การศึกษาพุทธศาสนามหายาน อย่างทั่วตลอด จะต้องรวมเอาพุทธศาสนา (เถรวาท) ที่ทั้งดั้งเดิมและเป็นพื้นฐานด้วย" "การศึกษาพระสูตรบาลีสนองวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการ คือ (1) ช่วยให้มีความเข้าใจอย่างถูกต้อง ต่อพระพุทธศาสนา (เถรวาท) ที่ทั้งดั้งเดิมและเป็นพื้นฐานนั้น ว่าเป็นที่ตั้งของพระพุทธศาสนา; (2) เพื่อส่งเสริม เอกภาพและความร่วมมือกันในหมู่ชาวพุทธญี่ปุ่นผู้นับถือนิกายต่างๆ ด้วยเหตุที่พุทธศาสนามหายานทุกนิกาย ล้วนมีกำเนิดจากแหล่งเกิดเดียวกันคือ พุทธศาสนา (เถรวาท) ที่ทั้งดั้งเดิมและเป็นพื้นฐานนั้น และ (3) เพื่อให้มี ความเห็นร่วมกันว่าพระศากยมุนี เป็นพระศาสดาผู้ประดิษฐานพุทธศาสนา" พระพุทธศาสนาทั้งเถรวาทและมหายานต่างก็มีหลักการของตนเองที่แน่นอน ชัดเจน ยิ่งมหายานแตก แยกเป็นนิกายย่อย ๆ มากมาย ดังเช่นในญี่ปุ่น ไม่ต้องนับนิกายที่ล้มหายสาบสูญไปแล้วในยุคต่าง ๆ ปัจจุบันนี้ก็ ยังมีนิกายใหญ่ถึง 5 นิกาย และแตกเป็นนิกายย่อยอีกประมาณ 200 นิกาย แต่ละนิกายก็มีคำสอน มีหลักการ ต่างๆ ที่แตกต่างกัน และมหายานด้วยกันเองนั้นแหละแตกต่างกันไกล บางทีแตกต่างกันเองมากยิ่งกว่าแตกต่าง กับพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทด้วยซ้ำ ถ้าพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทอย่างของเราไม่สามารถรักษาหลักการของตนไว้ได้ ปล่อยให้หลักการ หรือคำสอนภายนอกอย่างของมหายานเข้ามาปะปนจะไม่เพียงเกิดความสับสนเท่านั้น แต่คำสอนที่แท้จริงของ พระพุทธเจ้า ที่ใครๆ หวังจากเรา ก็จะพลอยเลอะเลือนหมดไป