แหล่งความรู้ที่ชัดเจนมีอยู่ ก็ไม่เอา กลับไปหาทางเดาร่วมกับพวกที่ยังสับสน ต่อไป เอกสารของวัดพระธรรมกายเขียนไว้ว่า "เรื่องอัตตาและอนัตตานี้ ป็นเรื่องหนึ่งที่มีการถกเถียงกันมากตั้งแต่ยุคโบราณหลังพุทธกาลเป็นต้นมา และมีมาตลอดประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา แม้ในยุคปัจจุบันก็มีนักวิชาการพระพุทธศาสนาทั้งในดินแดน ตะวันตก เช่น ยุโรป อเมริกา และทางตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ถกเถียงกันมาก ประเด็นที่ถกเถียงกันก็มี หลากหลายเช่น . . . " ข้อความนี้ถ้าจะให้ถูกต้องและชัดเจน ควรจะพูดใหม่ว่า "เรื่องอัตตานี้ การยึดถือกันมามากตั้งแต่ก่อนพุทธกาล โดยเฉพาะในลัทธิศาสนาพราหมณ์ และหลัง พุทธกาลแล้วศาสนาฮินดูก็ได้พยายามทำให้มั่นคงยิ่งขึ้น เห็นได้จากหลักเรื่องพรหมัน-อาตมัน หรือปรมาตมัน- ชีวาตมัน แต่ในพุทธศาสนานั้นท่านมีท่าทีที่ชัดเจน คือไม่ยอมรับทฤษฎีอัตตาด้วยประการใดๆ คือ ไม่ยอมรับ อัตตาโดยปรมัตถ์ ซึ่งเป็นท่าทีที่ชัดเจนอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นจึงต้องระวังไม่ให้ลัทธิภายนอก และลัทธิเดิมก่อน พุทธกาลที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธแล้วนั้น กลับแทรกแซงเข้ามา " การที่จะยืนยันหลักพุทธศาสนานี้ไว้ได้ จะต้องมีความเข้มแข็งมาก เพราะว่า 1. ลัทธิอาตมัน/อัตตาเดิม ก็มีอิทธิพลมากอยู่แล้ว 2. เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก บุคคลที่เข้ามาในพระพุทธศาสนา แม้มาบวชก็อาจจะนำเอาความคิดเห็นที่ผิด เข้ามาได้ ลัทธิถืออัตตาว่ามีจริงนี้ ท่านผู้รักษาพระธรรมวินัยในอดีตถือเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องระวังไม่ให้ แทรกหรือแปลกปลอมเข้ามาในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นลัทธิที่มีกำลังครอบงำสังคมชมพูทวีปอยู่ก่อนพระ พุทธศาสนา เป็นหลักการใหญ่ที่ตรงข้ามกันอยู่ระหว่างพระพุทธศาสนาลัทธิศาสนาเก่า ซึ่งเขาจะต้องพยายามแผ่ อิทธิพลเข้ามา และเป็นสภาพความเชื่อของมนุษย์ที่แวดล้อมพระพุทธศาสนาอยู่ตลอดมา พูดง่ายๆ ว่า พระพุทธศาสนาทั้งทวนกระแสทิฏฐิของลัทธิศาสนาที่มีอิทธิพลใหญ่ และทวนกระแสกิเลส ในใจของมนุษย์ปุถุชน อย่างไรก็ตาม พระเถระในอดีตท่านก็มั่นคงยิ่งในหลัก การของพระธรรมวินัย ดังที่ปรากฏว่า หลังจาก พุทธกาลไม่นาน ประมาณ พ.ศ. 235 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระสงฆ์มี พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็น ประธาน ได้ปรารภเรื่องทิฐิความเห็นแตกแยกแปลกปลอมเข้ามาในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีจำนวนมากมาย แยก กันไปถึง 18 นิกาย ซึ่งจะต้องแก้ไข จึงได้จัดการสังคายนาครั้งที่ 3 ขึ้นในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอโศก มหาราช ในการสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้รวบรวมคำวินิจฉัยขึ้นมาคัมภีร์หนึ่งชื่อว่า กถา วัตถุ อยู่ในพระอภิธรรมปิฎก พิมพ์เป็นพระไตรปิฎกบาลีอักษรไทยเล่มที่ 37 ซึ่งประมวลเอาความเห็นแตกแยก แปลกปลอมมาตั้งขึ้น 219 หัวข้อ แล้วท่านก็กล่าวแก้ เรื่องการถืออัตตานี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่ง ที่เป็นข้อปรารภในการที่ให้ต้องสังคายนา ถึงกับจัด เป็นหัวข้อแรกของ กถาวัตถุ นี้ เรียกว่า " ปุคคลกถา " คำว่า ปุคคละ ใน " ปุคคลกถา " นี้ ท่านใช้แทนคำทั้งหมดที่เกี่ยวกับการถืออัตตา อย่างที่ในภาษาไทย ในวงการธรรมเราพูดกันอยู่เสมอจนติดปากว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ดังที่ท่านให้ความหมายไว้ว่า ตตฺถ ปุคฺคโลติ อตฺตา สตฺโต ชีโว (ปญฺจ.อ. 129) แปลว่า: " ในพระบาลีนั้น คำว่าบุคคล ได้แก่ อัตตา สัตว์ ชีวะ " และคำว่า "อนัตตา" ท่านก็ให้ความ หมายไว้ด้วยว่า อนตฺตาติ อตฺตนา ชีเวน ปุคคเลน รหิโต (ปญฺจ.อ. 158) แปลว่า: " อนัตตา หมายความว่า ปราศจากอัตตา ปราศจากชีวะ ปราศจากบุคคล " พวกปุคคลวาที ซึ่งถือว่า บุคคล หรืออัตตา หรือสัตว์ หรือชีวะ มีจริงโดยปรมัตถ์นี้ ท่านแนะนำให้รู้จักใน อรรถกถาว่า เก ปน ปุคคลวาทิโนติ สาสเนว วชฺชิปุตฺตกา เจว สมิติยา จ พหิทฺธา จ พหู อญฺญติตฺถิยา (ปญจ. อ. 129) แปลว่า: "ชนเหล่าไหนเป็นปุคคลวาที ตอบว่า ในพระศาสนาเองได้แก่พวกภิกษุวัชชีบุตร และพวก นิกายสมิติยะ และภายนอกพระศาสนาได้แก่ อัญญเดียรถีย์จำนวนมาก " การที่ยกเรื่องกถาวัตถุขึ้นมาก็เพื่อให้เห็นว่า 1. เรื่องนิพพานเป็นอัตตาหรือเป็นอนัตตา และการถืออัตตาในรูปแบบต่างๆ นั้น ก) หลักการของเถรวาทมีความชัดเจน และได้ปฏิเสธไว้แน่นอนแล้วว่า อัตตาไม่มี จริงโดย ปรมัตถ์ มีเพียงโดยสมมติ ข) ท่านถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะไม่ทิ้งไว้ให้สาวกหรือศาสนิกทั้งหลายจะต้องมาคิด เห็น และถกเถียงกันวุ่นวายไป 2. เป็นการชี้ให้เห็นว่า เรื่องอย่างนี้ที่มีการถกเถียงกันนั้น พระเถระผู้ดำรงพระศาสนา ท่านมีความ ตระหนักรู้กันอยู่ตลอดมาว่าอะไรเกิดขึ้น และเป็นเรื่องที่ท่านแสดงไว้ชัดเจนแล้ว ท่านรู้มาเนิ่นนานในเรื่องการถือ ความเห็นแตกแยกแปลกปลอม ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยหลังพุทธกาล เพราะสืบเนื่องมาจากลัทธิเก่าก่อนด้วย และ ท่านก็แยกไว้ชัดเจนแล้ว เพราะฉะนั้นถึงเราจะไปพบเห็นคัมภีร์ หรือแนวคิดทิฐิอะไรเกี่ยวกับเรื่องอัตตาอีก ก็ให้รู้ ว่าเป็นเพียงหลักฐานยืนยันสิ่งที่ท่านได้ชำระสะสางไว้นานมาแล้ว ในขณะที่หลักการของพระพุทธศาสนาที่ตนบวชเข้ามาชัดเจนแน่นอนอยู่แล้ว เอกสารของวัดพระ ธรรมกาย กลับจะให้รอไปหวังพึ่งคนภายนอก ที่ท่านปฏิเสธไปแล้วบ้าง ที่เขายังอยู่ในระหว่างศึกษาคลำหาทาง อยู่บ้าง