พระพุทธเจ้าตรัสไว้แน่นอนเด็ดขาด ว่าลัทธิถืออัตตา ไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การปฏิเสธเรื่องอัตตาท่านถือเป็นเรื่องสำคัญเพียงไร จะเห็นได้จากการที่ท่านยกขึ้นตั้งเป็นปัญหาแรก ในคัมภีร์กถาวัตถุนี้ และอุทิศเนื้อที่ให้มากเป็นพิเศษ ดังเนื้อความภาษาบาลีอักษรไทย พิมพ์ในพระไตรปิฎกยาว ถึง 83 หน้า จะยกตัวอย่างพุทธพจน์ที่ท่านอ้างไว้ใน "ปุคคลกถา" มาแสดงให้เห็นหลักการเกี่ยวกับเรื่องอัตตา ๓ แบบ ว่าอย่างไหนไม่ใช่พุทธศาสนา อย่างไหนเป็นพุทธศาสนาดังนี้ ตโยเม เสนิย สตฺถาโร สนฺโต สํวิชฺชมานา โลกสฺมึ . . . ตตฺร เสนิย ยฺวายํ สตฺถา ทิฏฺเฐ เจว ธมฺเม อตฺตานํ สจฺจโต เถตโต ปญฺญเปติ, อภิสมฺปรายญฺจ อตฺตานํ สจฺจโต เถตโต ปญฺญเปติ; อยํ วุจฺจติ เสนิย สตฺถา สสฺสตวา โท. ตตฺร เสนิย ยฺวายํ สตฺถา ทิฏฺเฐว หิ โข ธมฺเม อตฺตานํ สจฺจเถตโต ปญฺญเปติ, โน จ โข อภิสมฺปรายํ อตฺตา นํ สจฺจโต เถตโต ปญฺญเปติ; อยํ วุจฺจติ สตฺถา อุจฺเฉทวาโท. ตตฺร เสนิย ยฺวายํ สตฺถา ทิฏฺเฐ เจว ธมฺเม อตฺตานํ สจฺจโต เถตโต น ปญฺญเปติ, อภิสมฺปรายญฺจ อตฺตา นํ สจฺจโต เถตโต น ปญฺญเปติ; อยํ วุจฺจติ เสนิย สตฺถา สมฺมาสมฺพุทฺโธ. (อภิ.ก. 37/188/82 และ อภิ.ปุ 36/103/179) แปลว่า: "ดูกรเสนิยะ ศาสดา ๓ ประเภทนี้มีปรากฏอยู่ในโลก . . . ในศาสดา 3 ประเภทนั้น 1. ศาสดาที่บัญญัติ อัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในเบื้องหน้า นี้เรียกว่าศาสดาที่เป็นสัสสตวาท (ลัทธิมิจฉาทิฏฐิว่าเที่ยง) 2. ศาสดาที่บัญญัติ อัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ เฉพาะในปัจจุบัน ไม่บัญญัติ เช่นนั้นในเบื้องหน้า นี้เรียกว่าศาสดาที่เป็นอุจเฉทวาท (ลัทธิมิจฉาทิฏฐิว่าขาดสูญ ) 3. ศาสดาที่ไม่บัญญัติ อัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในเบื้อง หน้า นี้เรียกว่าศาสดาผู้สัมมาสัมพุทธะ " โดยเฉพาะลัทธิมิจฉาทิฐิที่เรียกว่าสัสสตวาทนั้น อรรถกถาได้อธิบายไว้อีกว่า อตฺตานํ สจฺจโต เถตโต ปญฺญเปติ: อตฺตา นาเมโก อตฺถิ นิจฺโจ ธุโว สสฺสโตติ ภูตโต ถิร โต ปญฺญเปติ (ปญฺจ.อ.83) แปลว่า: "ข้อความว่า บัญญัติอัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ หมายความว่า (ศาสดาที่เป็นสัสสตวาท) บัญญัติโดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของมั่นคงว่า มีภาวะอย่างหนึ่งที่ เป็นอัตตา ซึ่งเที่ยง (นิจจะ) คงที่ (ธุวะ) ยั่งยืน (สัสสตะ)" ถ้าจะพูดกันให้ชัดลงไป ตามหลักการของพระพุทธศาสนานั้น ไม่มีเรื่องอัตตาที่จะเลยขึ้นมาให้มา พิจารณาในขั้นว่า นิพพานเป็นอัตตาหรือไม่ด้วยซ้ำ คือเรื่องอัตตานั้นจบไปตั้งแต่ขั้นพิจารณาเรื่องขันธ์ 5 ว่าไม่ เป็นอัตตา แล้วก็จบ คือท่านถือว่าอัตตาซึ่งเป็นศัพท์ที่ใช้แทนกันได้กับ ชีวะ หรือสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขานี้ เป็น คำที่มีโดยสมมติ เป็นภาษาสำหรับสื่อสารกันเท่านั้น และในภาษาบาลีของพุทธศาสนาเถรวาท คำว่า "อัตตา/ตัว ตน" นั้นก็ใช้ในความหมายที่เป็นสมมติทั้งหมด ถ้าอ่านพุทธศาสนาด้วยความเข้าใจอย่างนี้ก็ไม่มีปัญหาเรื่อง อัตตา ที่จะต้องมาพิจารณากันเลยในขั้นปรมัตถ์ ขอย้ำว่า ไม่มีเรื่องอัตตาที่จะพิจารณาขึ้นมาถึงขั้นว่านิพพาน เป็นอัตตาหรือไม่ เพราะมันจบไปก่อน หน้านั้นแล้ว