The Antigravity

ณกมล ร่วมสุข 40651762

ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


บทคัดย่อ

แรงโน้มถ่วง(Gravity Force)เป็นแรงที่เกิดจากวัตถุสองตัวกระทำต่อกันโดยขึ้นกับค่า G
และแปรผกผันต่อระยะห่างระหว่างวัตถุทั้งสอง เนื่องจากแรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่ดึงวัตถุทั้ง
สองเข้าหากัน ดังนั้น Antigravity คือแรงที่ผลักวัตถุทั้งสองออกจากกันในลักษณะเดียวกับ
การผลักเมื่อวางแม่เหล็กขั้วเดียวกันใกล้กัน
ในทางทฤษฎีแล้ว Antigravity จะเกิดขึ้นต่อเมื่อมวลของวัตถุใดๆ มีค่าเป็นลบ ซึ่งเป็นไปไม่ได้
ในทางปฏิบัติ ดังนั้น Anitgravity จึงมีความหมายถึงการสร้างแรงขึ้นมาเพื่อต่อต้านกับแรงโน้มถ่วง
โดยวัตถุยังคงมีมวลเป็นบวกอยู่
Antigravity จะปฎิวัติระบบการเดินทางทางอากาศ ในปัจจุบันเครื่องบินสามารถบินในอากาศได้โดย
อาศัยแรงยกที่ปีกทั้งสองตามกฎของ Bournulli ดังนั้นเครื่องบินจึงไม่สามารถที่จะลอยนิ่งอยู่กับที่ได้
และการเปลี่ยนทิศทางไม่สามารถทำได้ทันทีทันใด สำหรับอากาศยานที่ใช้ระบบ Antigravity นั้นการลอย
อยู่กับที่สามารถทำได้โดยสมดุลแรงโน้มถ่วงและการเปลี่ยนแปลงทิศทางสามารถทำได้ทันทีโดยการสร้าง
แรงขึ้นมากระทำในทิศทางที่ตรงกันข้าม

ความสัมพันธ์ระหว่างสนามไฟฟ้า, สนามแม่เหล็กและสนามโน้มถ่วง

สนามไฟฟ้า, สนามแม่เหล็กและสนามโน้มถ่วงเกิดจากของแรงดันไฟฟ้า, แรงเเม่เหล็กและแรงโน้มถ่วง
ตามลำดับ โดยปกติแรงดันไฟฟ้าจะก่อให้เกิดแรงแม่เหล็กตามทฤษฎีของ Maxell ซึ่งทำให้เกิด
เครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าเมื่อขดลวดวิ่งผ่านสนามแม่เหล็ก หรือมอเตอร์เมื่อมีกระแสไฟฟ้าตัดผ่าน
สนามแม่เหล็ก ในปัจจุบันยังไม่สามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างแรงแม่เหล็กและแรงโน้มถ่วงได้
อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันไฟฟ้าและแรงโน้มถ่วงได้ถูกค้นพบโดยการใช้ตัวเก็บ-
ประจุในการทดลองในปี ค.ศ. 1923 ซึ่งเรียกว่า The Biefield-Brown Effect

ดร. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้ใช้ช่วงเวลาสุดท้ายในการค้นหาสมการซึ่งจะรวมแรงทั้งสี่คือแรงโน้มถ่วง
แรงแม่เหล็กไฟฟ้า, แรงนิวเคลียร์อย่างแข็ง(Strong nuclear force)และแรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน
(Weak nuclear force) เข้าด้วยกันซึ่งทำให้สามารถทำการเปลี่ยนแรงใดแรงหนึ่งไปเป็นอีกแรงหนึ่ง
ได้ ซึ่งเรียกว่า ทฤษฎีสนามรวม(Unified field theory) อย่างไรก็ตามดร. ไอน์สไตน์ได้เสียชีวิต
ก่อนที่จะทำการค้นคว้าสำเร็จ

The Biefield-Brown Effect

ในการวิจัยรังสี X โดยหลอดคูลลิดจ์(Coolidge Tube) นักฟิสิกค์ชาวอเมริกัน, โทมัส ทาวน์เซ็นด์ บราวน์
(Thomus Townsend Brown), ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างแรงโน้มถ่วงและแรงดันไฟฟ้า
โดยที่ทุกๆครั้งที่เปิดเครื่อง หลอดคูลลิดจ์จะขยับไปมาเหมือนกับมีแรงบางอย่างมากระทำต่อหลอด
หลังจากนั้นบราวน์ได้ทำงานร่วมกับศาสตราจารย์ ดร. พอล อัลเฟร็ด ไบเฟลด์(Dr. Paul Alfred Bifield)
ที่มหาวิทยาลัยเดนิสัน โดยใช้ตัวเก็บประจุไฟฟ้า(Condenser)ในการทดลอง ผลลัพธ์ที่ได้จากการป้อน
แรวดันไฟตรงเข้าสู่ตัวเก็บประจุคือตัวเก็บประจุจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางของขั้วบวก ซึ่งต่อมารู้จักกันในชื่อ
The Biefield-Brown Effect
ในการทดลองเพื่อทดสอบเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงนั้น ตัวเก็บประจุถูกวางที่ปลายด้านหนึ่งของตาชั่ง
โดยที่อีกด้านหนึ่งมีตุ้มน้ำหนักอยู่เพื่อให้ตาชั่งสมดุล เมื่อป้อนแรงดันไฟตรงเข้าโดยให้ขั้วบวกอยู่ด้านบน
น้ำหนักของตัวเก็บประจุจะลดลง โดยตาชั่งจะเอียงลงทางด้านตุ้มน้ำหนัก และเมื่อสลับขั้วน้ำหนัก
ของตัวเก็บประจุจะเพิ่มขึ้นโดยตาชั่งจะเอียงลงด้านตัวเก็บประจุ แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
สนามไฟฟ้าสถิตย์และสนามโน้มถ่วง
ในปี ค.ศ. 1953 ดร. บราวน์ได้ทำสาธิตการทดลองระบบขับเคลื่อนโดยใช้ Biefield-Brown Effect
โดยใช้ยานรูปจานขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณสองฟุตทำหน้าที่คล้ายตัวเก็บประจุ เมื่อป้อนแรงดัน
ประมาณ 50,000 โวลท์ที่ 50 วัตต์เข้าไป ยานรูปจานนั้นจะลอยขึ้นโดยเปล่งแสงสีน้ำเงินออกมาพร้อมกับ
เสียงหึ่งขึ้นด้วย ยานรูปจานจะเคลื่อนที่เป็นวงกลมด้วยความเร็วประมาณ 17 ฟุตต่อวินาที อย่างไรก็ดี
นักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมชมการสาธิตอ้างว่าพลังงานที่เกิดขึ้นเป็นเพียง "พายุไฟฟ้า(Electric Wind)"
เท่านั้น เมื่อไม่มีผู้ให้การสนับสนุน ดร. บราวน์ได้เดินทางไปยังยุโรปและได้ทำการทดลองขึ้นที่ประเทศ
ฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1955 ภายได้ความช่วยเหลือจากรัฐบาลฝรั่งเศส โดยได้เพิ่มขนาดของจานและทำการ
ขับเคลื่อนในห้องสูญญากาศ ผลลัพธ์ที่ได้ยังคงเก็บเป็นความลับของรัฐบาลฝรั่งเศส
วิธีการสร้างตัวเก็บประจุและแรงดันไฟฟ้าที่เหมาะสมเพื่อให้เป็นไปตาม Biefield-Brown Effect นั้น
ไม่ได้รับการเปิดเผยจาก ดร. บราวน์ อย่างไรก็ตามมีองค์ประกอบห้าประการที่เป็นส่วนสำคัญคือ

Biefield-Brown Effect เป็นผลมาจากความสัมพันธ์ระหว่างสนามไฟฟ้าสถิตย์และแรงโน้มถ่วง
ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นระบบ Electrogravitics เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนวัตถุดังจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป

The Electrogravitics theory

สนามโน้มถ่วงไฟฟ้า(Electrogravity field) เกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุบวกหรือลบ อย่างไร
ก็ตาม สนามโน้มถ่วงไฟฟ้านี้จะมีค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับสนามไฟฟ้าสถิตย์และสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้น
รูปข้างล่างนี้แสดงลักษณะของสนามโน้มถ่วงไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเมื่อ electron มีการเคลื่อนที่

วัตถุทุกชนิดจะกำเนิดสนามโน้มถ่วงไฟฟ้า เนื่องจากการเคลื่อนที่ของ electron รอบนิวเคลียส
โดยมีทิศทางพุ่งออกจากวัตถุนั้นๆ ดังนั้นอนุภาคที่มีประจุเป็นลบจะถูกดึงดูดเข้าสู่วัตถุนั้นและ
อนุภาคที่มีประจุเป็นบวกจะถูกผลักออกไป ดังแสดงในรูปด้านล่าง

อย่างไรก็ดีแรงที่กระทำต่ออนุภาคบวกและอนุภาคลบนี้มีค่าน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับแรง-นิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นภายในอะตอมในกรณีที่สนามโน้มถ่วงไฟฟ้าเป็นเชิงเส้นจะไม่มีแรงเกิดขึ้น เนื่องจากแรงที่ดึงอนุภาคลบจะมีค่าเท่ากับแรงที่ผลักอนุภาคบวก

เมื่อสนามโน้มถ่วงไฟฟ้าไม่เป็นเชิงเส้น แรงที่กระทำต่ออนุภาคลบและอนุภาคบวกจะไม่เท่ากันทำให้มีแรงเกิดขึ้นในอะดอมนั้นๆ

สนามโน้มถ่วงไฟฟ้าของโลกจะมีค่าสูงมาก ในการคำนวณโดยคร่าวๆจะมีค่าสนามโน้มถ่วงไฟฟ้าประมาณ 12500 volts/meter ซึ่งค่าที่ได้นี้ไม่ใช่การวัดแรงดันไฟฟ้าของจุดสองจุดในอากาศแต่ได้จากการคำนวณแรงที่กระทำต่ออะตอมที่มีบนโลก ดังนั้นวัตถุสามารถไร้น้ำหนักได้ถึงแม้ว่าจะมีมวลอยู่โดยการสร้างสนามโน้มถ่วงไฟฟ้าเพื่อหักล้างกับสนามโน้มถ่วงไฟฟ้าของโลก

The Electrogravitics Propulsion System

การสร้างระบบขับเคลื่อนแบบ Electrogravitics นั้นทำได้โดยใช้ electrode สองตัวต่อ
กับกับแต่ละด้านของ Dielectric เช่นเดียวกับในตัวเก็บประจุและป้อนแรงดันไฟตรงเข้าที่ electrode
ซึ่งอยู่ในแนวของแรงที่ต้องการให้เกิดขึ้น โดยปกติคือแนวแกนของ electrode ทั้งสองนั้นเอง
แรงขับเคลื่อนจะเกิดขึ้นเมื่อ gradient ของสนามไฟฟ้าสถิตย์ระหว่าง electrode ทั้งสองไม่เป็นเชิงเส้น
ซึ่งเกิดจากความแตกต่างในเชิงกายภาพของ electrode ทั้งสอง, แรงดันไฟฟ้าระหว่าง electrode,
ขนาดของ Dielectric และประเภทของ Dielectric ที่ใช้ แรงขับเคลื่อนที่มากขึ้นสามารถทำได้
โดยปรับรูปแบบของ flux ของสนามไฟฟ้าสถิตย์ ซึ่งสามารถทำได้โดยกำหนดรูปแบบของ electrode
เมื่อให้ electrode ที่ต่อกับขั้วบวกของแรงดันมีลักษณะเป็น parabola และ electrode ที่เหลือวาง
อยู่ในแนวโฟกัสของ electrode ที่เป็น parabola จะได้แรงขับที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากสนามไฟฟ้าสถิตย์ที่
จุดโฟกัสจะมีค่าสูงมาก เมื่อ electrode ทั้งสองถูกเชื่อมต่อเป็นชิ้นเดียวกับ Dielectric จะทำให้เกิด
แรงยกขึ้นและสามารถลอยบนอากาศได้
นอกจากนี้แล้วการเพิ่มความไม่เป็นเชิงเส้นของสนามไฟฟ้าสถิตย์ยังสามารถเพิ่มแรงขับเคลื่อนได้
โดยใช้สารตัวนำเจือปนใน Dielectric เพื่อให้มีค่า K สูงที่บริเวณใกล้กับ electrode ทั้งสองและ
ลดลงเมื่ออยู่กึ่งกลางของ Dielectric รูปที่ 1 แสดงลักษณะของระบบที่ได้กล่าวถึง

รูปที่ 1 ลักษณะของ electrode เพื่อเพิ่มแรงขับเคลื่อน

กราฟที่แสดงในรูปแสดงถึง gradient ของสนามไฟฟ้าสถิตย์โดยมีแกน Y เป็นระยะห่างระหว่าง
electrode ทั้งสองและ flux density ในแกน X ในกรณีที่กราฟเป็นเส้นตรงจะไม่มีแรงกระทำ
(เส้นประ)เมื่อกราฟไม่เป็นเส้นตรงจะเกิดแรงขึ้นในทิศทางของขั้วบวก
รูปที่ 2 ข้างล่างนี้เป็นแสดงรูปแบบของ Dielectric และ electrode เพื่อควบคุมทิศทางในการเคลื่อนที่

รูปที่ 2 รูปแบบของ dielectric และ electrode

ในการควบคุมให้แรงขับเคลื่อนไปในทิศทางใดๆนั้น ทำได้โดยให้ Dielectric มีลักษณะเป็นรูปกรวยโดย electrode จะต่อที่ปลายทั้งสองของ Dielectrice ดังแสดงในรูปที่ 2 (Fig4) เมื่อป้อนแรงดันไฟฟ้าเข้าที่ electrode ทั้งสองจะทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนโดยมีทิศทางจากปลายแหลมของDielectric ไปยังปลายด้านที่เป็นวงกลม แรงขับเคลื่อนจะมากขึ้นเมื่อให้ขั้วบวกอยู่ที่ electrode ที่เป็นวงกลม นอกจากนี้แล้วยังสามารถใช้ไฟฟ้ากระแสสลับแทนไฟฟ้ากระแสตรงได้โดยควรให้electrode ที่ต่อที่ปลายแหลมของ Dielectric มีเส้นผ่านศูนย์กลางเป็นครี่งหนึ่งของความถี่ที่ใช้

นอกจากนี้แล้ว Dielectric ที่มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูสามารถใช้เป็นส่วนประกอบของการสร้างแรงขับเคลื่อนได้เช่นเดียวกับ Dielectric รูปกรวยดังแสดงในรูปที่ 2(Fig5) โดยมีทิศทางของแรงเช่นเดียวกัน พื้นที่หน้าตัดของ Dielectric รูปสี่เหลี่ยมคางหมูจะมีผลต่อขนาดของแรงเช่นเดียวกับชนิดของ Dielectric ที่ใช้เพื่อเพิ่มขนาดของแรงขับเคลื่อนให้มากขึ้น Dielectric รูปคางหมูหลายๆตัวจะนำมาต่อร่วมกันเป็นชิ้นเดียวเช่นในรูปที่ 2(Fig6) ซึ่งแรงขับเคลื่อนที่ได้จะเท่ากับผลรวมของแรงขับเคลื่อนแต่ละตัวโดยการรวมรูปแบบของ electrode และ Dielectric ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดเข้าด้วยกัน จะสามารถสร้างอากาศยานที่สามารถเคลื่อนที่ได้ทั้งสามแกน โดยสามารถลอยนิ่งอยู่กับที่และสามารถเคลื่อนที่ไปในทิศทางใดๆได้ในทันที่โดยการป้อนแรงดันเข้าไปใน electrode ที่ต้องการ

The superconductor weight-reduction experiment

ดร. Eugene Podkeltnov นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแทมเปอร์ (Tampere University)ประเทศฟินแลนด์ ได้ค้นพบ Antigravity โดยบังเอิญในการทดลองเกี่ยวกับสารตัวนำยิ่งยวด(superconductor) โดยวัตถุใดๆที่นำมาวางเหนืออุปกรณ์นี้จะมีน้ำหนักลดลงประมาณ 2% รูปที่ 3 แสดงลักษณะของอุปกรณ์ที่ใช้

รูปที่ 3 Antigravity โดยใช้สารตัวนำยิ่งยวด

อย่างไรก็ตามการค้นพบนี้แตกต่างจากการค้นพบของ ดร. บราวน์ เนื่องจากไม่สามารถใช้ในการขับเคลื่อนได้ และตามทฤษฎีสัมพันธภาพนั้นการหมุนของวัตถุอย่างเร็วจะทำให้เกิดแรงโน้มถ่วงได้ โดย superconductor อาจจะขยายผลกระทบนี้ ให้มีมากขึ้นก็เป็นได้

บทสรุป

การค้นคว้าเกี่ยวกับระบบต้านแรงโน้มถ่วงเริ่มจากปี ค.ศ. 1950 จากการค้นพบของThomus Townsend Brown มาจนถึงปัจจุบัน โดยยังคงเป็นความลับของแต่ละประเทศเนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตรของมนุษย์ชาติในการเดินทางจากการใช้แรงเสียดทานเช่นรถยนต์ เป็นการเดินทางโดยใช้แรงปฏิกริยาตามกฎของนิวตันสำหรับเครื่องยนต์เจ็ท และคาดว่าในอนาคตอันใกล้การเดินทางโดยใช้ระบบ Electrogravitics จะมาถึง อย่างไรก็ดีการทดลองของBrown มีผลกระทบต่อเวลา โดยทำให้สนามเวลาเกิดบิดเบี้ยวขึ้น(ตามคำยืนยันของ ดร. ไอน์สไตน์)เมื่อใช้กับแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับที่ความถี่ Resonance และสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแรงสูงยังมีผลกระทบต่อปฏิกริยาเคมีในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งจะต้องทำการแก้ไขผลกระทบเหล่านี้ให้เสร็จสิ้นก่อนจึงสามารถนำมาใช้งานจริงได้
ดร. ไอน์สไตน์กล่าวไว้ว่า " It would of course be a great step forword if we succeeded in combining the gravitational field and the electromagnetic field into a single structure. Only so could the era in theoretical physics ingugurated by Faraday and Clerk Maxell be brought to a satisfactory close."
และ Telihard de Chardin ได้เขียน " Someday, after we have mastered the winds, the waves, the tides and gravity, we shall harness for God the energies of love. Then for the second time in the history of the world man will have discovered fire."

สุดท้ายนี้ขอให้การค้นคว้าเกี่ยวกับระบบต้านแรงโน้มถ่วงเพื่อเป็นประโยชน์ ไม่ใช้เพื่อการทำลายเช่นที่โนเบลได้ค้นพบดินระเบิดหรือทฤษฎีสัมพันธภาพของ ดร. ไอน์สไตน์ ซึ่งนำไปสู่การสร้างระเบิดนิวเคลียร์

References

[1] Thomus Townsend Brown and Walkertown, 1965. ELECTROKINETIC APPARATUS, United States Patent No. 3,187,206
[2] TL 565 A9, Gravity Research Group and AF Wright Aeronautical Laboratories. Electrogravitics System: The Declassified Report.
[3] Gaston Burridge, Townsend Brown and his Anti-Gravity Discs.
[4] The Biefield-Brown Anti-Gravity Effect.
[5] Floyd Sweet and T. E. Bearden. Utilizing Scalar Electromagnetics To Tap Vacuum Energy, Association of Distinguished American Scientists.
[6] Charles Berlitz and William Moore. The Philadelphia Experiment.


nakamon@asianet.co.th