รูปดวงตราประจำจังหวัด จังหวัดพัทลุง รูปดวงตราประจำจังหวัด ดอกไม้ประจำจังหวัด ต้นไม้ประจำจังหวัด

คำขวัญประจำจังหวัด

Nedstat Counter

PHATTHALUNG PROVINCE

Phatthalung is well known, in the South, as the town of the hollow hill, located on Trang-Songkhla Highway some 840 kms. From Bangkok and 56 kms. From Trang. Entering into the township area of Phatthalung, one can see the hollow hill located in the heart of the city as if it were the symbol of Phatthalung.

Phatthalung, the beautiful town with the lake originating from Songkhla, is the province initiation two famous entertainment’s, i.e., Manora and Shadows Play. It occupies an area of 3,424.5 square kilometers and administratively divided into 6 Amphoe and 4 King Amphoes, they are: Amphoe Muang, Khao Chaison, Khuan Khanun, Pak Phayun, Kong Ra, Tamot and King Amphoe Si Banphot, Pa Bon. Pa Phayom and Bangkaeo. The area is of mountainous, forested with high plateau in the west sloping down towards the east through Songkhla Lake. It borders on Nakhon Si Thammarat and Songkhla to the north, Songkhla to the south, Songkhla Lake to the east, Trang and Satun to the west.

Tourist Attractions

Tham Khuha Sawan Before arriving at down town area of Phatthalung, one can see a hill, top part of which is divided apart, on the left-hand side wherein the cave is located. In the cave, Buddha images are enshrined along the wall as same as at Suwan Khuha Cave of Phangnga. However, King Rama V and VII and paid their royal visits to the cave.

Hat Sansuk along the Coast of Lam Pam Lake This is a beach on the coast of Songkhla Lake, located 8 kms. From the township area. The beach area is lined with pleasant pine trees. Looking out from the shore, beautiful islands are seen here and there.

Nam Tok Khao Khram This waterfall is located in the area of Amphoe Muang, 30 kms. From the township area. The waterfall cascades from the high cliffs, level by level, surrounded by the evergreen forest having reservoir for swimming at the lowest level.

Tham Malai The cave is located in the same range of the hollow hill having beautiful milky white stalagmite and stalactite formation including ponds with clear and clean water inside the cave.

Khao Chaison Hot-Cold Water Ponds the location is one kilometer from the office of Amphoe Khao Chaison. The hot water pond is located at the foot of Khao Chaison Hill having spring running out all the times while a cold water pond, having a lot of small fishes, is located nearby.

Phrathat Bang Kaeo These Buddha relies are enshrined in Wat Ta Khien located in the area of old town of Bang Kaeo. It is the oldest statutory place in the Phatthalung, which was constructed in Ayutthaya period.

Thale Noi Waterfowl Park This Park has a very big lagoon with more than hundred species of waterfowl. It is located in the area of Tambon Thale Noi, Amphoe Khuan Khanun, and 17 kms. From the Amphoe Administrative Office and linking to Songkhla Lake.

Khao Pu-Khao Ya National Park To get there, take highway No.41, Phatthalung-Khuan Kanun and turn left to highway no.4164 to King Amphoe Si Banphot where the national park is located. Khao Pu-Khao Ya National Park, a shady park with a cave called “Tham Mat Cha” covered the area of Nakhon Si Thammarat. Accommodations are available by calling National Park Division at 579-4842, 579-0529.

In addition, Phatthalung also has several beautiful waterfall such as Nam Tok Mom Jui in the area of Amphoe Tamot; Nam Tok Ban Ton in the area of Amphoe Muang; Nam Tok Rai Nua, Nam Tok Phraiwan in the area of Amphoe Kong Ra, Num Tok Phraya Nakhon and Nam Tok Riang Thong in the area of King Amphoe Si Banphot.

The Icon Gallery

สภาพภูมิศาสตร์ : ภูมิประเทศ, ภูมิอากาศ
จังหวัดพัทลุง
จังหวัดพัทลุง

จังหวัดพัทลุง
จังหวัดพัทลุงตั้งอยู่ทางตะวันออกของภาคใต้ ระหว่างเส้นรุ้งที่ ๗ องศา ๖ ลิบดาเหนือถึง ๗ องศา ๕๓ ลิบดาเหนือ และเส้นแวงที่ ๙๙ องศา ๔๔ ลิบดาตะวันออกถึง ๑๐๐ องศา ๒๖ ลิบดาตะวันออก ห่างจากกรุงเทพทางเส้นทางหลวงหมายเลข ๔๑ สายเอเชีย เป็นระยะทางประมาณ ๘๕๘ กิโลเมตร และตามเส้นรถไฟสายใต้ ๘๔๖ กิโลเมตร มีพื้นที่ ๒,๐๔๓,๑๒๕ ไร่ แบ่งการปกครองเป็น ๘ อำเภอ ๒ กิ่งอำเภอในปี ๒๕๓๘ มีดินแดนที่เป็นฝั่งทะเลคือทะเลสาบสงขลาจังหวัดพัทลุงจึงถูกปิดล้อมจาก มหาสมุทร มีจังหวัดสงขลาอยู่ทางด้านตะวันออกและทางด้านใต้ จังหวัดตรังอยู่ด้าน ตะวันตก และด้านเหนือเป็นจังหวัดนครศรีธรรมราช
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไป ประกอบด้วยภูเขาและที่ราบสูงทางด้านตะวันตก ตั้งแต่บริเวณเทือกเขาบรรทัด แล้วค่อยลาดต่ำลงมา เป็นที่ราบทางทิศตะวันออก จนกระทั่งจดทะเลสาบสงขลา ทำให้พื้นที่ทางตะวันออกเหมาะสมแก่การทำนา และทำการประมง บริเวณชายฝั่งส่วนพื้นที่ทางตะวันตกเป็นป่าไม้ รวมทั้งมีการทำ สวนยางพารา และสวนผลไม้นานาชนิดเทือกเขาบรรทัดเป็นแหล่งกำเนิด แหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัด คือลำน้ำขนาดเล็กที่ เรียกว่า "คลอง"
ภูมิอากาศของพัทลุงจัดอยู่ในมรสุมเขตร้อน มี ๒ ฤดูกาล ฤดูร้อนและฤดูฝน มีช่วงฝนตกน้อยกว่า ๑๐๐ ม.ม. ซึ่งจัดว่าแล้วอยู่สองช่วง คือ เดือนกุมภาพันธุ์และเดือน มีนาคมช่วงหนึ่งอีกช่วงหนึ่งได้แก่เดือนมิถุนายน กรกฏาคม และสิงหาคม ส่วนช่วงที่ ฝนตกมาก ได้แก่เดือนตุลาคม พฤศจิกายนและธันวาคม ปริมาณน้ำฝนมีความแปรปรวน มากนับตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ เป็นต้นมา จึงเห็นได้ว่าในระยะหลังๆ จะพบกับปัญหาน้ำท่วม บ่อยขึ้น ขณะเดียวกันมีความแห้งแล้งเป็นระยะเวลายาวนาน เพราะปริมาณน้ำฝนที่ ลงมาเพียงระยะเวลาไม่กี่วัน แต่มีปริมาณมาก เมื่อมองภาพรวมแล้ว ลักษณะฝนที่พัทลุง จะเป็นอุปสรรคต่อการเพาะปลูกมาก และการที่จำนวนวันฝนตกน้อยลงน่าจะได้ พิจารณาถึงป่าไม้บริเวณเทือกเขาซึ่งถูกโค่นลงไปมาก
แม้ว่าพัทลุงจะเป็นเพียงจังหวัดเล็กๆ แต่ก็เป็นเมืองเก่าแก่ มีประวัติความเป็นมา ที่น่าภาคภูมิใจ ชาวเมืองยืดมั่นในพุทธศาสนา มีจิตใจเข้มแข็งเป็นนักรบมาแต่โบราณมีศิลปวัฒนธรรมและการละเล่นที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง และร่ำรวยมรดกวัฒนธรรม
The Icon Gallery

แหล่งที่มาแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
อู่นาข้าว

เมื่อไปพัทลุงจะมองเห็นนาข้าวกว้างไกลสุดสายตา ช่วงต้นฤดูทำนาเห็นท้องนาเขียวขจี ครั้นไปช่วงฤดูเก็บเกี่ยวจะเห็นทุ่งรวงทอง อร่ามตา เพราะข้าวเป็นแหล่งที่มาแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจังหวัดพัทลุง โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ราบ ได้ชื่อว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของแหลมมลายูมาแต่โบราณ มาในสมัยปัจจุบันคำว่า "อู่นาข้าว" ยังปรากฏในคำขวัญของจังหวัดที่ว่า "เมืองหนังโนรา อู่นาข้าว พราวน้ำตก แหล่งนกน้ำ ทะเลสาบงาม เขาอกทะลุ น้ำพุร้อน" และข้าวเป็นสินค้าออกอันดับหนึ่งของจังหวัด
สำนักงานสถิติแห่งชาติปี ๒๕๒๓ รายงานว่าจังหวัดพัทลุงมีพื้นที่ ๒,๐๔๓,๑๒๕ ไร่ พื้นที่ถือครองทั้งหมด ๙๐๔,๒๓๕ ไร่ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ปลูกข้าว ๕๙๐,๓๙๕ ไร่ หรือร้อยละ ๖๕.๓๕ ของพื้นที่ถือครองทั้งหมด ชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจและสังคมพัทลุง ผูกพันอยู่กับการทำนาเป็นสำคัญ การใช้ที่ดินรองลงไปจะเป็นปลูกพืชยืนต้น ร้อยละ ๒๗.๔๕ ที่สำคัญคือสวนยางพารา และสวนผลไม้ อีกเล็กน้อย แต่การใช้ที่ดินด้านนี้จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันปี ๒๕๓๘ สำนักงานจังหวัดพัทลุงรายงานว่า นาข้าวเหลือร้อยละ ๓๑.๕๙ มีการทำนาปีละ ๒ ครั้ง คือนาปี และนาปรังในเขตชลประทาน โดยมีการปลูกข้าว ๓ แบบ คือ นาดำ นาหว่าน และนาน้ำตม ผลผลิตสามแสนตัน/ปี เหลือจำหน่ายประมาณ ๑ แสนตัน โดยส่งไปจำหน่ายยังจังหวัดใกล้เคียงโดยเฉพาะสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จนได้ชื่อว่าเป็นอู่นาข้าวหรือฉางข้าวใหญ่แห่งหนึ่งของภาคใต้ พันธุ์ข้าวที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวเล็บนก ข้าวไข่มดริ้น ข้าวสังข์หยด ข้าวขาวดอกมะลิ
อย่างไรก็ดี ผลผลิตจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ คุณภาพของข้าวก็ไม่ดี กล่าวคือข้าวส่วนใหญ่ จะเป็นข้าวเปลือกเจ้าชนิดสีเป็นข้าวสาร ๒๕ เปอร์เซนต์ แต่ต่ำกว่าข้าว ๒๕ เปอร์เซนต์ของภาคอื่นๆ จึงเรียกว่าข้าว ๒๕ เปอร์เซนต์พื้นเมือง จังหวัดพัทลุงจึงได้ดำเนินการเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตข้าวหลายวิธีแต่การประกอบอาชีพทำนาปัจจัยสำคัญยังขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ และแหล่งธรรมชาติ แม้ว่าจังหวัดพัทลุงจะมีระบบการชลประทานที่ดีกว่าจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ จังหวัดพัทลุงโดย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้จัดทำแผนลงทุนจังหวัด ผลการประเมินข้อจำกัดและศักยภาพในด้านต่างๆ พบว่าทิศทางในการ พัฒนาการลงทุนของจังหวัด เรียงลำดับความสำคัญได้ดังนี้
๑. การลงทุนด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
๒. การลงทุนด้านโรงงานการผลิตไม้ยางพารา และเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา
๓. การลงทุนด้านการแปรรูปเนื้อสุกร
๔. การแปรรูปพืชผักผลไม้
๕. การเลี้ยงโคเนื้อ


พระมหากษัตริย์
พระยาคางเหล็ก

พระยาคางเหล็กหรือพระยาพัทลุง (ขุนคางเหล็ก) เดิมชื่อ "ขุน" เป็นบุตรชายของพระราชบังสันตะตา เจ้าเมืองพัทลุง สมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับการแต่งตั้งเป็น "พระยาแก้วเการพพิไชยฯ" เจ้าเมืองพัทลุงใน พ.ศ.๒๓๑๕ สมัยกรุงธนบุรี นับเป็นครั้งแรกที่ เชื้อสายสกุล "ณ พัทลุง" ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองเมือง เมื่อเมืองตั้งอยู่ที่ตำบลลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง และสืบต่อมาจน ย้ายเมืองมาอยู่ในที่ปัจจุบัน สมัยรัชกาลที่ ๖
พระยาคางเหล็ก เป็นนักปกครองที่มีความสามารถสูง ดังจะเห็นได้จากการปรับเปลี่ยนท่าทีตามนโยบายของส่วนกลางมาตลอด เช่น ในสมัยกรุงธนบุรี ได้เปลี่ยนวิธี อิสลามมานับถือพุทธศาสนา ต่างเล่ากันว่าเมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีรับสั่งถามขุนนางที่เข้าเฝ้าอยู่ว่า "ใครจะตามเสด็จขึ้นสวรรค์ได้บ้าง" ผู้เข้าเฝ้าต่างคนต่างนิ่งอยู่ แต่พระยาคางเหล็กกราบทูลว่า "เป็นอันเหลือวิสัยผู้หาบุญมิได้ จะตามเสด็จ ขึ้นสวรรค์ในเวลาที่มีชีวิตอยู่ ข้าพระพุทธเจ้าจะได้ตามเสด็จเมื่อหาชีวิตไม่แล้ว" พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดฯ ว่าพูดถูกนี่เป็นคำพูดที่กล้าทูล จึงได้รับนามว่า "คางเหล็ก" แม้จะมีการเปลี่ยนแผ่นดินในปี พ.ศ.๒๓๒๕ พระยาคางเหล็ก ก็ยังได้รับพระกรุณา โปรดเกล้าฯ จากรัชกาลที่ ๑ ให้คงรับราชการเป็นเจ้าเมืองพัทลุงต่อไป และได้ส่งธิดาไปถวายตัวเป็นเจ้าจอมด้วย คือเจ้าจอมมารดากลิ่น ในพระองค์เจ้าสุทัศน์ (ต้นสกุลสุทัศน์ ณ อยุธยา)
นอกเหนือจากเป็นนักปกครองที่มีความสาารถสูงแล้ว พระยาคางเหล็กยังเป็นนักรบที่กล้าหาญ เช่น เมื่อคราว "สงครามเก้าทัพ" ใน พ.ศ.๒๓๒๘ ได้ร่วมมือกับพระมหาช่วย พระภิกษุผู้มีความรู้ทางไสยศาสตร์แห่งวัดป่าเลไลย์ ปลุกระดมมหาชนชาวพัทลุงต่อสู้พม่า เพื่อปกป้องแผ่นดินไว้ด้วยชีวิต ต่อจากนั้นได้เป็นแม่กองทัพเรือคุมทัพเมืองพัทลุงและเมืองจะนะ ยกไปตีเมืองปัตตานีร่วมกับทัพหลวง จนตีเมืองปัตตานีได้ในที่สุด
รวมเวลาท่พระยาคางเหล็กว่าราชการเมืองพัทลุงอยู่ ๑๗ ปี โดยถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๒ แม้ท่านจะทำคุณงามความดี ให้แก่เมืองพัทลุงเป็นเวลานานแล้วก็ตามแต่ คุณงามความดี ความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ ความซื่อสัตย์ของท่าน ยังอยู่ในความทรงจำของชาว พัทลุงสืบไป
The Icon Gallery

วีรบุรุษ
พระยาทุกขราษฏ์ (ช่วย)

พระยาทุกขราษฏร์ (ช่วย) เดิมชื่อ "ช่วย" เป็นต้นตระกูล "สัจจะบุตร" และศรีสัจจัง"ไม่ปรากฏหลักฐานนามบิดามารดา ตลอดจนปีที่เกิดและปีที่เสียชีวิต แต่พอจะสันนิษฐานได้ว่า น่าจะเกิดประมาณตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และเสียชีวิตปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นชาวบ้านน้ำเลือด หมู่ที่ ๕ ตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
ชีวิตในร่มกาสาวพัตร พระยาทุกขราษฏร์ (ช่วย) ได้เรียน นโม ก ข ขอมไทย และบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดควนปรง วัดใกล้บ้าน จนกระทั่งมีอายุได้ ๒๐ ปี ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเขาอ้อ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง แล้วได้สมัครเป็นศิษย์ พระอาจารย์ทอง วัดเขาอ้อ พระผู้มีความเชื่ยวชาญทางไสยศาสตร์ เป็นที่เลื่องลือไปทั่วภาคใต้ พระยาทุกขราษฏร์(ช่วย) มีความสามารถ ในการศึกษาเล่าเรียน และการปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนาควบคู่กับการศึกษาวิชาทางไสยศาตร์ของสำนักวัดเขาอ้อ จนได้รับการแต่งตั้ง เป็น"พระมหาช่วย" เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป จึงได้รับการนิมนต์ไปเป็นเจ้าอธิการวัดป่าเลไลย์ วัดเก่าแก่ หลังจากที่ พระยาคางเหล็ก(ขุน) ได้ย้ายเมือพัทลุงไปตั้งที่บ้านโคกลุง ตำบลลำปำ ในปี พ.ศ.๒๓๑๕ และมีเวลาในการสั่งสมคุณงามความดี จนเป็นที่เคารพกราบไหว้บูชาด้วยความศรัทธาของชาวบ้าน ทั้งคงจะมีความสนิทสนมกันมากขึ้นกับเจ้าเมือง ทั้งนี้เพราะวัดป่าเลไลย์ อยู่ไม่ไกลกันมากนักกับเมือง ที่วัดนี้เองที่พระมหาช่วยได้สร้างวีรกรรมที่ควรแก่การยกย่องเชิดชูเกียรติประวัติ และเป็นแบบอย่างแก่ อนุชนสืบไปโดยปลุกมหาชนชาวพัทลุง เป็นกำลังเข้าต่อต้านพม่าที่จะยกมาตีหัวเมืองพัทลุงใน "สงครามเก้าทัพ " พ.ศ. ๒๓๒๘ ที่พม่ายกพลมาทุกทิศทุกทางเพื่อต้องการยืดเมืองไทยให้ได้
เมื่อเสด็จศึกพม่าแล้ว พระยาพัทลุงคางเหล็ก (ขุน) ได้เข้ากราบทูลความดี ความชอบในวีรกรรมขอพระมหาช่วยต่อสมเด็จกรม พระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ที่เมืองสงขลา สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท จึงให้สึกออกจากบรรพชิต แล้วทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น "พระยาทุกขราษฏร์" ผู้ช่วยราชการเมืองพัทลุง โดยมีตำแหน่ง "พระยา" เท่าเทียม กับเจ้าเมือง เนื่องจากได้สร้าง วีรกรรมเพื่อปกป้องแผ่นดินมาตุภูมิไว้ด้วยชีวิต ด้วยคุณงามความดีนี้เองทางจังหวัดพัทลุงจึงได้เอาชื่อของท่าน ไปตั้งเป็นชื่อถนนสายหนึ่ง ชื่อ "ถนนช่วยทุกขราษฏร์" และในปี พ.ศ.๒๕๓๗ จังหวัดพัทลุงร่วมด้วยส่วนราชการ องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พ่อค้าประชาชน ทุกสาขาอาชีพ ได้พร้อมกันจัดสร้างอนุสาวรีย์พระยาทุกขราษฏร์ (ช่วย)ประดิษฐานไว้ที่สามแยกบานท่ามิหรำ ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง
The Icon Gallery

ประเพณีท้องถิ่น
การแข่งโพน
การแข่งโพน

การแข่งโพนเป็นประเพณีอย่างหนึ่ง มีแพร่หลายอยู่เฉพาะทางภาคใต้ เช่น สุราษฏร์ธานี สงขลา นครศรีธรรมราช โดยเฉพาะที่ จังหวัดพัทลุง สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นสืบเนื่องจากประเพณีชักพระ ก่อนที่จะมีการชักพระในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา ในช่วงปลายเดือน ๑๐ วัดต่างๆ จะมีการตระเตรียมตั้งแต่การทำบุษบก หุ้มโพน และเริ่มการคุมโพนเพื่อเป็นการประกาศให้ชาวบ้านรู้ว่า ทางวัดจะจัดให้มีการชักพระ ต่อการเกิดการโต้เถียงเกี่ยวกับเสียงโพน จึงคิดเล่นสนุกสนานมากขึ้น มีการท้าพนันกันบ้างว่า ผู้ตีโพนคนใด เรี่ยวแรงดีที่สุด ลีลาท่าทางการตีดีที่สุด โพนวัดใดเสียงดังมากที่สุด จึงมีการแข่งขันตีโพนกันขึ้น ในระยะแรกๆ เข้าใจว่าคงตีแข่งขันกัน ภายในวัดและค่อยขยายออกมาภายนอกวัด เพิ่มจำนวนโพนขึ้น จัดประเภทและมีกติกามากขึ้น การคิดเล่นสนุกสนานเหล่านี้ทำให้มีการ แข่งโพนกันอย่างกว้างขวางในระยะหลังและกลายเป็นประเพณีท้องถิ่นที่สืบต่อกันมา ปัจจุบันการแข่งโพนเป็นกิจกรรมการละเล่น ที่สำคัญของจังหวัดพัทลุง
การแข่งโพน
การแข่งโพนแบ่งได้เป็น ๒ อย่าง คือ
๑. แข่งมือ ตัดสินให้ผู้ตีที่มีกำลังมือดีกว่าเป็นฝ่ายชนะ โดยให้ตีจนผู้ใดอ่อนล้าก่อน เป็นฝ่ายแพ้ ปัจจุบันไม่นิยมเพราะทำให้เสียเวลามาก
๒. แข่งเสียง ตัดสินให้โพนที่มีเสียงดีกว่าเป็นฝ่ายชนะ การแข่งขันจะเป็นแบบ พบกันหมดหรือแพ้คัดออกก็ได้ จับสลากแข่งขันเป็นคู่ๆ ใช้ผู้ตีฝ่ายละ ๑ คน กรรมการ ๓ - ๕ คน ตัดสินให้คะแนนโดยอยู่ห่างจากสถานที่ไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตร ณ สถานที่ตี กรรมการควบคุมการตีและคุมเวลา เรียกคู่โพนเข้าประจำที่ ลองตีก่อนฝ่ายละประมาณ ๓๐ วินาที เพื่อดูว่าโพนฝ่ายใดมีเสียงทุ้ม และโพนฝ่ายใดมีเสียงแหลม จากนั้นเริ่มให้ทั่งคู่ตีพร้อมกันภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งโดยมากจะใช้เวลา ๑๐ - ๑๕ นาาที ขณะที่โพนกำลังตีแข่งขันอยู่นั้นกรรมการฟังเสียงทั้งหมด จะตั้งใจฟังเสียงโพนแล้วตัดสินให้โพนที่มีเสียงดังกว่าเป็น ฝ่ายชนะ โดยถือเอาเสียงข้างมากของกรรมการเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน
การแข่งขันโพน นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวพันกับพิธีการทางศาสนา บางประการแล้ว กิจกรรมการละเล่นชนิดนี้ ยังช่วยให้มองเห็นการแสวงหาความสุข ความบันเทิงใจ อีกทั้งยังเป็นสื่อในการประสานความสัมพันธ์ทางสังคม ทำให้ชาวบ้านมีโอกาส พบปะสัมพันธ์กัน เป็นกิจกรรมการละเล่นที่สำคัญนำมาสู่การสร้างสรรค์ ความสามัคคีในชุมชน จึงควรบำรุงรักษาให้การละเล่นชนิดนี้ คงอยู่ตลอดไป
The Icon Gallery

พิธีกรรม
โนราโรงครูวัดท่าแค

โนราโรงครู หมายถึงโนราที่แสดงเพื่อประกอบเชิญโรงครู หรือบรรพบุรุษโนรามายังโรงพิธีเพื่อรับการเซ่นสังเวย รับของแก้บน และเพื่อครอบเทริด หรือผูกผ้าใหญ่แก่โนรารุ่นใหม่
ปัจจุบันโนราโรงครูยังกระทำกันอยู่ทั่วไปในภาคใต้โดยเฉพาะแถบจังหวัดนครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และสงขลา แต่โนราโรงครูที่สำคัญและน่านใจยิ่งคือ โนราโรงครูวัดท่าแค ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
โนราโรงครูวัดท่าแค มีความมุ่งหมายในการจัดเพื่อให้ครูหมอโนรา หรือตายายโนราทั้งหมดมาร่วมชุมนุมกัน เพราะชาวบ้านเชื่อว่า บ้านท่าแคเป็นแหล่งกำเนิดโนรา และเป็นแหล่งสถิตหรือพำนักของครูโนรา จึงทำให้โนราโรงครูวัดท่าแคมีรูปแบบและขั้นตอนพิธีกรรม แตกต่างไปจากโนราโรงครูทั่วไป
การจัดพิธีกรรมโนราโรงครูวัดท่าแค เริ่มตั้งแต่การไหว้พระภูมิโรงพิธีพระ แล้วเข้าโรงในวัดแรกซึ่งเป็นวันพุธตอนเย็น จากนั้นจึงทำพิธีเบิกโรง ลงโรง กาศครู เชิญครู กราบครู โนราใหญ่รำถวายครู จับบทตั้งเมือง การรำทั่วไป วันที่สองซึ่งเป็นวันพฤหัสบดี ถือเป็นพิธีใหญ่ เริ่มตั้งแต่ลงโรง กาศโรง เชิญครู เอาผ้าหุ้มต้นโพธิ์ที่เชื่อกันว่า เป็นที่เผาศพและฝังกระดูกของขุนศรีศรัทธา เซ่นไหว้ครูหมอ ตายาย โนรา ทั่วไปรำถวายครู การรำสอดเครื่องสอดกำไล ทำพิธีตัดจุก ทำพิธีครอบเทิดหรือผูกผ้าใหญ่ พิธีแก้บนด้วยการรำถวายครูและ ออกพราน พิธีผูกผ้าปล่อย การรำทั่วไปในเวลากลางคืน ส่วนวันที่สาม เริ่มตั้งแต่ลงโรง กาศครู เชิญครู การรำทั่วไป รำบทสิบสองเพลง สิบสองบท เหยียบเสน ตัดผมผีช่อ รำบทคล้องหงส์ รำบทแทงเข้เป็นอันเสร็จพิธี
จะเห็นได้ว่าโนราโรงครูวัดท่าแค มีรูปแบบและขั้นตอนพิธีกรรมที่เป็นของตนเอง แตกต่างไปจากโนราโรงครูที่อื่นๆ เช่น มีการทำพิธีไหว้พระภูมิ และประกอบพิธีทางพุทธศาสนาก่อนนำคณะโนราเข้าโรงเพื่อประกอบพิธี และไม่ต้องทำพิธีเชิญครูเข้าทรง ทำพิธีส่งครูหรือมีการตัดเหฺมฺรย เมื่อเสร็จพิธีอย่างโนราโรงครูทั่วไป เพราะเชื่อว่าวัดท่าแค เป็นที่อยู่ของครูโนรา หากทำพิธีตัดเหฺมฺรย เมื่อเสร็จพิธีเท่ากับทำพิธีตัดขาดจากครู พิธีกรรมโนราโรงครูวัดท่าแคจึงสิ้นสุด หลังจากทำพิธีแทงเข้ ในวันที่ ๓ ซึ่งเป็นวันศุกร์
The Icon Gallery

สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
วังเจ้าเมืองพัทลุง

วังเจ้าเมืองพุทลุง ตั้งอยู่ในหมู่ที่ ๔ ตำบลลำป่า อำเภอเมืองพัทลุง ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๘ กิโลเมตร เป็นอาคารทรงไทย แบ่งเป็น ๒ กลุ่มอาคาร ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่เดียวกันกลุ่มอาคารที่ตั้งอยู่ติดกับถนนราเมศวร์อภัยบริรักษ์ เรียกกันว่า "วังเก่า" เป็นบ้านพักของ พระยาอภัยบริรักษ์ (น้อย จันทโรจวงศ์) เจ้าเมืองพัทลุง ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๐๙ - ๒๔๓๑ ส่วนอาคารที่ตั้งอยู่ริมคลองลำห่า ห่างจากวังเก่า ไปทางทิศใต้ประมาณ ๓๐ เมตร เรียกว่า "วังใหม่" หรือชาวบ้านเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "วังใหม่ชายคลอง" เป็นบ้านพักของพระยาอภัยบริรักษ์ (เนตร) ซึ่งเป็นบุตรชายของพระยาอภัยบริรักษ์ (น้อย) เจ้าเมืองพัทลุงใน พ.ศ.๒๔๓๑ - ๒๔๔๖ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองคนสุดท้ายในสมัยโบราณ
ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๒๔ ทายาทของพระยาอภัยบริรักษ์ (เนตร) โดยนายวิเวก จันทโรวงศ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ได้มอบวังใหม่ พร้อมที่ดิน ๒ ไร่ ๓ งาน ๗๕ ตารางวา ให้เป็นโบราณสถานของชาติ ในความดูแลของกรมศิลปากรอีกแห่งหนึ่ง กรมศิลปากรในฐานะ ผู้ดูแลรักษา ได้เล็งเห็นถึงคุณค่าโบราณสถานวังเมืองพัทลุง จึงได้จัดสรรงบประมาณทำการบูรณะอาคารพร้อมทั้งจัดภูมิทัศน์ เพื่อให้โบราณสถานแห่งนี้เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรม และเป็นอนุสรณ์สถานเมืองพัทลุงต่อไป สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิด "วังเจ้าเมืองพัทลุง" อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๖
"เจ้าเมือง" ในสมัยโบราณ คือ "ผู้เป็นเจ้าแห่งเมือง" เนื่องจากมีอำนาจ สิทธิ์ขาดในการปกครองบ้านเมืองแบบ "กินเมือง" เมื่อเจ้าเมืองมีอำนาจในฐานะเป็นผู้แทนต่างพระเนตรพระกรรณเช่นนี้ ย่อมถือว่าเป็นเสมือนเจ้า หรือคือเจ้าแห่งเมืองเมืองนั้น ที่อยู่ของท่าน ที่เป็นเจ้าเมืองจึงต้องเรียกว่า "วัง" ด้วย และที่เรียกว่า "วัง" ก็มิใช่เฉพาะ "วังเก่า" และ "วังใหม่" ดังกล่าว แต่มีเรียกว่าวังอีกหลายแห่ง เช่น ที่เมืองนครศรีธรรมราช หรือที่เมืองพัทลุงนี้เองก็เคยมี "วังกลาง" และ"วังสวนดอกไม้" อยู่ไม่ไกลจากกลุ่มอาคาร "วังเก่า" และ "วังใหม่"
The Icon Gallery

แหล่งโบราณคดี
วัดเขียนบางแก้ว

วัดเขียนหรือที่เรียกกันว่า "วัดเขียนบางแก้ว" เพราะตั้งอยู่บ้านบางแก้ว หมู่ที่ ๔ ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง นับเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัด
จากตำนานพื้นบ้าน เพลงนางเลือดขาว และหนังพระกัลปนาวัดหัวเมืองลุงในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทำให้สันนิษฐานได้ว่า วัดเขียนบางแก้วตั้งมาในสมัยเดียวกับสร้างเมืองพัทลุงที่บางแก้ว สมัยศรีวิชัย ประมาณ พ.ศ.๑๔๘๒ ในบริเวณวัดมีพระมหาธาตุเจดีย์ ก่อด้วยอิฐฐานแปดเหลี่ยม วัดโดยรอบ ๑๖.๕๐ เมตร สูงถึงยอด ๒๒ เมตร ตามตำนานกล่าวว่า นางเลือดขาวกับเจ้าพระยากุมารเจ้าเมืองพัทลุง ได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๕๔๒ นอกจากนั้น ภายในวัดยังมีโบราณสถานวัตถุที่มีคุณค่าจำนวนมาก ได้แก่ เจดีย์สี่มุมของมหาธาตุเจดีย์ ระเบียงหรือวิหารคดซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย จำนวน ๒๔ องค์ อุโบสถด้านหน้าพระมหาธาตุเจดีย์ พัทธเสมาหินทรายแดง ธรรมศาลา ซากปรักหักพังของโบสถ์พราหมณ์หรือเทวสถาน วิหารถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พระแก้วคุลาศรีมหาโพธิ์ พระพุทธรูปสองพี่น้อง และสถานที่สำคัญในพื้นบริเวณวัดและโคกเมือง รวมทั้งพื้นที่บริเวณใกล้เคียง มีการค้นพบโบราณวัตถุประเภทเครื่องปั้นดินเผา เช่น ถ้วยชามจีนสมัยราชวงศ์ซ้อง ราชวงศ์เหม็ง เครื่องเคลือบสังคโลกสมัยอยุธยา เหรียญทองคำอาหรับ ศิลาจารึกอักษรขอมขวานหินขัด เครื่องมือเครื่องใช้พื้นเมืองจำนวนมากซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาพของสังคมและความเจริญของชุมชนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วง พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ได้ให้ข้อคิดว่า เป็นช่วงที่ปละท่าตะวันตกเริ่มมีบทบาทเท่าเทียมกับปละท่าตะวันออก ของทะเลสาบสงขลา และยังเป็นช่วงที่ปฏิสังขรณ์วัดเขียนบางแก้ว ศิลปกรรมในช่วงนี้มีรูปแบบร่วมลักษณะศิลปกรรมที่เพชรบุรีและ ที่ไชยา ช่วง พ.ศ.๒๐๐๐-๒๑๕๐ เป็นช่วงระยะเวลาที่ศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่บริเวณวัดบางแก้ว โดยมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ และศาสนา
ทั้งยังอยู่ภายใต้การควบคุมของนครศรีธรรมราชและอยุธยา ซึ่งเป็นแม่แบบของศิลปกรรมที่สร้างขึ้นในช่วงนี้ นับตั้งแต่พุทธศตวรรษ ที่ ๒๒ เป็นต้นมา ความเจริญของวัดเขียนบางแก้วเริ่มชะงักงัน และกลายเป็นวัดสร้างเมื่อเสียกรุงครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๓๑๐ โบราณสถานถูก ทอดทิ้งและทำลายไปมาก เพิ่มได้รับความสนใจบูรณะใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันทางวัดได้จัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์รวมทั้ง การจัดระบบการแสดงศิลปโบราณ โดยการออกแบบของกรมศิลปากร สามารถที่จะให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชมหรือศึกษาได้ตลอดเวลา
The Icon Gallery

แหล่งท่องเที่ยว
อุทยานนกน้ำทะเลน้อย
อุทยานนกน้ำทะเลน้อย

อุทยานนกน้ำทะเลน้อย
อุทยานนกน้ำทะเลน้อยเป็นอุทยานนกน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๔๐๔๘ พัทลุง - ควนขนุน ปลายทางที่ทะเลน้อยรวมระยะทาง ๓๒ กม. ทั้งยังสามารถเดินทางโดยทางเรือและทางรถไฟอีกด้วย
อุทยานนกน้ำทะเลน้อยเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า มีพื้นที่ประมาณ ๒๘๑,๒๕๐ ไร่ โดยมีพื้นน้ำประมาณ ๑๗,๕๐๐ ไร่ อยู่บริเวณเหนือสุดของทะเลสาบสงขลา เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีนกมากมายกว่า ๑๕๐ ชนิด จำนวนไม่ต่ำกว่าแสนตัว ที่มีมาก ได้แก่ นกอีโอ้ง นกพริก นกเป็ดแดง นกเป็ดคับแค นกเป็ดผี นกกาบบัว นกอีล้ำ นกอีอุ้ม นกกะปูด นกนางนวล นกนางแอ่น นกยางเฟีย นกอัญชัน นกกระสาแดง นกกระสานวล อีกา เหยี่ยวต่างๆ ฤดูกาลที่เหมาะสมที่สุดสำหรับ การไปดูนก คือ ช่วงเดือนธันวาคม ถึงเมษายน โดยเฉพาะนกกาบบัว ที่นี่เป็น "บ้าน" เพียงแห่งเดียวของพวกเขาที่อพยพมาทำรังเพื่อสืบต่อ ชนิดพันธุ์ตามธรรมชาติ ส่วนนกอีโอ้งเป็นนกประจำถิ่นหากินกันเป็นฝูงๆ จนเรียกลานหากินของอีโก้งว่า "ลานอีโก้ง" ทีเดียว
อุทยานนกน้ำทะเลน้อย
นอกจากนกน้ำต่างๆ แล้ว ยังมีสัตว์ป่าประเภทเลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ลิงแสม ลิงลม เสือปลานากใหญ่ธรรมดา อีเห็นน้ำหรือชะมดน้ำ ชะมดเช็ด รวมทั้งพันธุ์ไม้หลายชนิด เช่น ย่านลิเภา จูดหนู แขมกกสามเหลี่ยม กง ลาโพง จูด บัวหลวง บัวสายแดง บา จอกหูหนู ผักตบชวา สายหร่ายต่างๆ และทรัพยากรสัตว์น้ำ ปลาน้ำจือด กุ้ง เต่า และตะพาบน้ำ โดยเฉพาะปลามีมากกว่า ๓๐๐ ชนิด จนได้ชื่อว่าเป็น "อู่ปลา"
นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือไปชมนกได้จากท่าเรือทะเลน้อย และใกล้ที่ทำการ อุทยานฯ มีเรือนพักรับรอง โดยอยู่ในความดูแลของอุทยานฯ ติดต่อสอบถาม รายละเอียดได้ที่กรมป่าไม้กรุงเทพฯ
นอกจากนั้นบริเวณริมฝั่งทะเลน้อย ก็เป็นหมู่บ้านชาวประมง มีทางเดินเชื่อมต่อกันระหว่างบ้านแต่ละหลังที่เป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง บางหลังยังคงรูปร่างเป้นเรือนปั้นหยาเก่าๆ บางแนวทางเดินก็ปลูกต้นโมกเป็นแนวรั้ว ชาวบ้านเหล่านี้นอกจากทำประมงน้ำจืดแล้ว ยังทำนา ทอเสื่อ กระจูดและผลิตภัณฑ์กระจูด สวยงามหลากหลายชนิด วางจำหน่ายในแนวเดียวกับร้านอาหารและเครื่องดื่ม
The Icon Gallery

แหล่งธรรมชาติ
ทะเลสาบลำปำ

ทะเลสาบสงขลาตั้งอยู่ในเขตจังหวัดสงขลาและพัทลุง มีลักษณะเป็นห้วงน้ำใหญ่เชื่อมต่อกัน ๓ ตอน ดังนี้
๑. ทะเลน้อย เป็นห้วงน้ำจืดตอนบนสุด อยู่ในพื้นที่ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง
๒. ทะเลหลวงหรือทะเลสาบตอนบนกับทะเลสาบตอนกลาง เป็นทะเลสาบน้ำกร่อยส่วนหนึ่งของพื้นที่ตั้งของเขตห้ามล่าสัตว์ ป่าทะเลสาบ (คูขุด) จังหวัดสงขลา อีกส่วนหนึ่งเป็นบริเวณที่เรียกกันว่า "ทะเลสาบลำปำ" จังหวัดพัทลุง
๓. ทะเลสาบตอนล่าง หรือที่เรียกว่า "ทะเลสาบสงขลา" เป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่เชื่อมต่อกับอ่าวไทยที่ปากอ่าวสงขลา
จะเห็นได้ว่าทะเลสาบลำปำคือส่วนหนึ่งของทะเลสาบสงขลา ที่อยู่ในเขตจังหวัดพัทลุงโดยอยู่ทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบสงขลา แต่อยู่ทางด้านตะวันออกของตัวเมืองพัทลุง ตามเส้นทางพัทลุง-ลำปำ ระยะทาง ๘ กิโลเมตร
ทะเลสาบลำปำเป็นแหล่งทำการประมง และให้อาหารโปรตีนที่อุดมสมบูรณ์แก่ชุมชนโดยรอบมาแต่โบราณ ทั้งเป็นเส้นทาง คมนาคมทางเรือที่สำคัญแห่งหนึ่งของชุมชนนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา โดยใช้แม่น้ำปากพนัง หัวไทร เชียรใหญ่ ชะอวด พัทลุง ระโนด สงขลา หรือลัดจากหัวไทรเข้าระโนดออกไปสงขลา
บริเวณทะเลสาบลำปำ มีหมู่เกาะใหญ่น้อยเรียงรายอยู่ในเขตอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุงมากกว่า ๑๐ เกาะ ที่สำคัญ ได้แก่ เกาะนางคำ เกาะโคบ เกาะเสือ เกาะแกง เกาะแรด หมู่เกาะสี่เกาะห้า ชายทะเลเรียกกันว่า "หาดแสนสุขลำปำ" สามารถลงเล่นน้ำและ ล่องเรือชมความงามของธรรมชาติพร้อมทั้งมีศาลาทรงไทยเรียกว่า "ศาลาที่ลำปำที่รัก" เป็นศาลากลางน้ำห่างจากฝั่งประมาณ ๕๐ เมตร มีสะพานเชื่อมโยงระหว่างฝั่งและศาลา และยังมีที่พักริมทะเลคือลำปำรีสอร์ทไว้รองรับนักท่องเที่ยว รวมทั้งบริการนำเที่ยวตลอดเวลา
The Icon Gallery

สถานที่สำคัญทางศาสนา
วัดคูหาสวรรค์
วัดคูหาสวรรค์

วัดคูหาสวรรค์ ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาคูหาสวรรค์ อยู่ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ห่างจากสถานีรถไฟพัทลุงประมาณ ๔๐๐ เมตร สันนิษฐานว่าสร้างตั้งแต่สมัยต้นกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี
วัดคูหาสวรรค์
ปูชนียสถานที่สำคัญประกอบด้วย ดังนี้
๑. ถ้ำพระ อยู่ทางด้านตะวันตก ห่างจากอุโบสถประมาณ ๓๐ เมตร ภายในถ้ำมี หินงอกหินย้อยสวยงามมาก เดิมชาวบ้านเรียกชื่อว่า "ถ้ำน้ำเงิน" เป็นศาสนสถานมา แต่อดีต หลักฐานสำคัญคือกรุพระพิมพ์แบบต่างๆ จำนวนมาก อายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๕ มีพระพุทธไสยาสน์ วัดความยาวตั้บแต่พระรัศมีจนถึงพระบาทยาว ๑๒ เมตร ทั้งนี้ ยังมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง ๓.๗๐ เมตร สูงประมาณ ๖ เมตร ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัดสันนิษฐานว่า คงมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมามีการ สร้างเพิ่มเติมจนมีทั้งสิ้น ๓๗ องค์ ส่วนบริเวณหน้าผ้าเชิงถ้ำมีพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. , ป.ป.ร. , ภ.ป.ร. และ ส.ก. ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตามลำดับ
๒. พระพุทธบาทจำลอง ตั้งอยู่บนไหล่เขาด้านบนของถ้ำพระ สูงขึ้นไปประมาณ ๖๐ เมตร สร้างโดยนายฮวด - นางขิ้ม แซ่สอ เมื่อปี ๒๔๗๑ ตรงจุดนี้จะมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองพัทลุงที่ใกล้ๆ ได้สวยงามมาก
๓. ถ้ำนางคลอด อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นับจากประตูวัดไปทางทิศเหนือประมาณ ๘๐ เมตร ทางวัดโดยพระภิกษุคล้าย หรือชาวบ้านเรียกว่า "พ่อท่านคล้าย" ได้ตกแต่งถ้ำให้สวยงามวิจิตรพิสดาร สามารถเดินขึ้นทางบันไดจนถึงเพดานถ้ำ มีภาพปั้นให้ชม ตั้งแต่ปากถ้ำ สะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์ของการแต่งกาย ลักษณะการลงโทษสมัยก่อน และภาพปั้นแสดงออกทางพุทธปรัชญาหลายอย่าง ความร่มเย็น สงบ สว่างทางใจจะเกิดขึ้นโดยไม่รู้สึกตัวเมื่อได้ชมถ้ำนี้
จะเห็นได้ว่าปูชนียสถานและปูชนียวัตถุของวัดส่วนใหญ่เกิดจากศรัทธาของชาวเมืองที่ประสงค์ที่จะสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ เป็นพุทธบูาชาไว้มากมาย ทั้งยังมีร่องรอยประวัติศาสตร์การเสด็จประพาสของพระมหากษัติย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์อีกด้วย กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๘
The Icon Gallery
Back to Home Page
Next Page
Nation web Awards
The Icon Gallery