หน้าที่ 1
บทคัดย่อ
ประวัติผู้วิจัย
กิตติกรรมประกาศ
บทนำ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอแนะ
ข้อมูลเพิ่มเติม
My Guestbook
Link : ศูนย์ศึกษาลาว
              ตามปกติวัฏจักรของน้ำ จะอยู่ในภาวะสมดุลย์เสมอ กล่าวคือน้ำระเหยเป็นไอ จากทะเล และมหาสมุทร เมื่อถูกพัดเข้าสู่แผ่นดินแล้วจะกลั่นตัวเป็นน้ำฝนตกลงมา ในที่สุดก็ไหลกลับสู่ทะเล ในปริมาณเดียวกัน แต่ในปัจจุบัน ความสมดุลย์ดังกล่าว กำลังได้รับผลกระทบจากการพัฒนา ทางด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม การตัดไม้ทำลายป่ากลายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ ปริมาณไอน้ำที่ระเหย จากแผ่นดินและ ทะเลนั้น ลดน้อยลง ทำให้ฝนตกน้อยลง ระบบน้ำใต้ดิน มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดภัยแห้งแล้งมากขึ้น ในหลายเขตของโลก (Bari และคณะ 1996) นอกจากภัยแล้งแล้ว ยังมีอุทกภัย การพังทลาย การเสื่อมคุณภาพของดิน และปัญหาทางสิ่งแวดล้อม หลายอย่างตามมา
              ปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย เหลืออยู่ประมาณ ร้อยละ 26 ของพื้นที่ทั้งหมด (สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ 2539) การสูญเสียดังกล่าว มีสาเหตุสำคัญมาจากการตัดไม้ เพื่อการส่งออกการขยายพื้นที่การเกษตร และการขยายพื้นที่อยู่อาศัย กิจกรรมเหล่านี้ นอกจากก่อให้เกิดปัญหาการตื้นเขิน ของแหล่งน้ำแล้ว ยังทำให้ลักษณะโครงสร้างของชุมชนสิ่งมีชีวิต ในแหล่งน้ำเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบต่อความหลากหลาย ทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต และ ระบบนิเวศในแหล่งน้ำนั้น โดยเฉพาะ กลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน ( Benthic Macroinvertebrate ) ซึ่งผลกระทบดังกล่าวนี้ ได้มีการศึกษาวิจัย อย่างกว้างขวางในต่างประเทศ( เช่น Armitage และคณะ 1983, Lenat 1983; Macfarlane 1983, Duncan และคณะ 1985, Dudgeon 1988, Hilsenhoff 1988, Campbell และคณะ 1989, Brussock และคณะ 1991, Crowns และคณะ 1992, Lenat 1993, Richards 1993, Resh 1994, Brewin และคณะ 1995, Chessman 1995 และ Fore และคณะ 1996 เป็นต้น )
              การศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน ได้มีการพัฒนา มากขึ้นมาเป็นลำดับ เนื่องจาก สัตว์กลุ่มนี้มีการแพร่กระจาย อย่างกว้างขวาง มีความสามารถทนทาน ต่อการเปลี่ยนแปลง ของสิ่งแวดล้อมได้ มากน้อยแตกต่างกัน ( Chessman 1986) และปัจจุบันนี้ เป็นที่ยอมรับว่า สัตว์กลุ่มนี้ สามารถใช้เป็นดัชนีทาง ชีวภาพที่บ่งชี้ถึง สภาวะการเปลี่ยนแปลงของ สิ่งแวดล้อมและคุณภาพน้ำ รวมทั้ง สามารถใช้เป็น ข้อมูลร่วมในการ วางแผนเกี่ยวกับ ทรัพยากรและการใช้พื้นที่ได้ (Best และคณะ 1982, Hilsenhoff 1988, Lenat 1993, Growns และคณะ 1994, Bunn 1995, Chessman 1995 และ Resh และคณะ 1995)


( หน้า 1 2 ) หน้าต่อไป >>>

[ Home ][บทคัดย่อ ] [ ประวัติผู้วิจัย ] [ กิตติกรรมประกาศ ] [ บทนำ ] [ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ] [ ข้อเสนอแนะ ] [ ข้อมูลเพิ่มเติม ] [ My Guestbook ]