เนื่องจากในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เหตุการณ์บ้านเมืองได้ผันแปร แตกต่างกว่าเดิมเป็นอันมากทั้งความเจริญของบ้านเมืองก็เป็นเหตุให้ข้าราชการเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็น
ลำดับลักษณะการปกครองที่ใช้มาแต่เดิมนั้นย่อมพ้นความต้องการตามสมัยสมควรที่จะได้รับการปรับปรุง
แก้ไขเสียใหม่โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
"..การ ปกครองบ้านเมืองของเราซึ่งเป็นไปในปัจจุบันนี้
ยังไม่เป็นวิธีการปกครองที่จะให้การทั้งปวง เป็นไปโดย
สะดวกได้แต่เดิมมาแล้วครั้นเมื่อล่วงมาถึงปัจจุบันบ้านเมืองยิ่งเจริญขึ้นกว่าแต่ก่อนหลายเท่าการปกครอง
อย่างเก่านั้นก็ยิ่งไม่สมกับความต้องการของบ้านเมืองหนักขึ้นทุกทีจึงได้มีความประสงค์อันยิ่งใหญ่
ที่จะ แก้ไขธรรมเนียมการปกครองให้สมกับเวลาที่เป็นการเจริญแก่บ้านเมือง......"
ประกอบด้วยในรัชกาลของพระองค์นั้นเป็นระยะเวลาที่ลัทธิจักรวรรดินิยมกำลังแผ่ขยายมาทาง
ตะวันออกไกล ด้วยนโยบาย Colonial agrandisement ประเทศมหาอำนาจตะวันตกเช่นอังกฤษและ
ฝรั่งเศสได้ประเทศข้างเคียงรอบๆ ไทยเป็นเมืองขึ้น และทั้งสองประเทศยังมุ่งแสวงหาผลประโยน์จาก
ประเทศไทยดังเช่นที่ฝรั่งเศสได้ถือโอกาสที่ไทยยังไม่มีระบบการปกครองที่ดี
และรักษาอาณาเขตได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ได้อ้างวิธีการสำรวจทางวิชาการซึ่งเรียกว่า
"Scientific expedition"เป็นเครื่องมือโดย อาศัยปัญหาเรื่องชายแดนเป็นเหตุ
กล่าวคือ เมื่อฝรั่งเศสได้ดินแดนญวน แล้วได้ตั้งเจ้าหน้าที่ของตนออก
เดินสำรวจพลเมืองและเขตแดนว่ามีอาณาเขตแน่นอนเพียงใด
และเนื่องจากเขตแดนระหว่างประเทศไทย มิได้กำหนดไว้อย่างแน่นนอนรัดกุม
จึงเป็นการง่ายที่พวกสำรวจเหล่านั้นจะได้ถือโอกาสผนวกดินแดนของ
ไทยเข้าไปกับฝ่ายตนมากขึ้นทุกที ด้วยเหตุดังกล่าวประเทศไทยจึงจำเป็นต้องปรับปรุงการปกครองบ้าน
เมืองให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันเหตุดังกล่าว
มูลเหตุอีกประการหนึ่งของการปรับปรุงการปกครองก็คือ
พระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในอันที่จะยกเลิกขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นการกดขี่กันหรือก่อให้เกิดความ
อยุติธรรมแก่อาณาประชาราษฎรซึ่งมีอยู่นั้นเสีย ขนบธรรมเนียมดังกล่าวได้แก่การมีทาสการใช้จารีตนคร
บาลในการพิจารณาความพระราชประสงค์ของพระองค์ในเรื่องนี้
ปรากฏในพระราชปรารภว่าด้วยเรื่องทาส และเกษียณอายุตอนหนึ่งว่า
"ข้าพเจ้ามีความปรารถนาว่าการสิ่งไรซึ่งเป็นการเจริญมีคุณแก่ราษฎรควรจะ
เป็นไปทีละเล็กทีละน้อยตามกาลเวลา การสิ่งไรที่เป็นธรรมเนียมบ้านเมืองมาแต่โบราณแต่ไม่เป็นยุติธรรม
ก็อยากจะเลิกถอนเสีย"
นอกจากนี้พระราชประสงค์ของพระบาทสทเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในอันที่จะทรงนำเอาสิ่ง
ใหม่ ๆ มาใช้ในการปกครองประเทศ เช่น ได้ทรงจัดตั้งคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
(Councilof state) ประกอบด้วยเหล่าสมาชิกตั้งแต่ 10
- 20 นาย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประธานสภาและได้ทรงจัดตั้ง
สภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy council)ประกอบด้วยจำนวนสมาชิกสุดแต่พระประสงค์ซึ่งต่อมาใน
ปีร.ศ. 113 ได้ทรงยกเลิกสภาที่ปรึกษาและจัดตั้งคณะรัฐมนตรีสภาขึ้นแทน
อันประกอบด้วยเสนาบดีหรือผู้แทน ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอีกไม่น้อยกว่า
12 คน อนึ่งการเริ่มให้มีการปกครองท้องถิ่นก็เป็นมูลเหตุสำคัญ
กับผู้ที่ประการหนึ่งที่ทำให้มีการปรับปรุงการปกครองในรัชสมัยของพระองค์
|