ได้มีการปรับปรุงกระทรวงต่าง ๆ
ขึ้นใหม่ และได้จัดตั้งระบบการบริหารงานของสถาบันการปกครองออกเป็น
3 ส่วน คือ
1. ส่วนกลาง
ได้แก่ กระทรวงทบวงกรมต่างๆ และส่วนราชการอื่นที่เทียบเท่า
2. ส่วนภูมิภาค
ประกอบด้วย 75 จังหวัด (อำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน)
3. ส่วนท้องถิ่น
แบ่งเป็น
- เทศบาล (เทศบาลนคร เทศบาลเมือง
เทศบาลตำบล)
- องค์การบริหารส่วนจังหวัด
- การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
2 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
- องค์การบริหารส่วนตำบล
หลักในการแบ่งภูมิภาคของประเทศไทยนั้น
ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงาน ทั้งนี้ ทางการปกครอง
ได้แบ่งภูมิภาคต่าง ๆ โดยถือหลักเกณฑ์ลักษณะทางกายภาพ
ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ พืชพรรณธรรมชาติ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
เป็นบรรทัดฐานไว้ 5 ภาค ดังนี้
ภาคกลาง
ประกอบด้วย จ.กาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี
ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี
สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี
และอ่างทอง รวม 18 จังหวัด
ภาคตะวันออก
ประกอบด้วย จ.จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี
ระยอง และสระแก้ว รวม 7 จังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประกอบด้วย จ.กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา
บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ
สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี
และอุบลราชธานี รวม 19 จังหวัด
ภาคใต้
ประกอบด้วย จ.กระบี่ ชุมพร
ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต
ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี รวม 14 จังหวัด
ภาคเหนือ
ประกอบด้วย จ.กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์
น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง
ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี รวม 17 จังหวัด
|