สถาบันการปกครอง
ระบบการเมืองการปกครองแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. การปกครองแบบรัฐสภา
คือ ให้รัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) กับคณะรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร)
มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้อย่างใกล้ชิด โดยให้รัฐสภามีฐานะและอำนาจ
ความสำคัญเหนือกว่าคณะรัฐมนตรี คือ รัฐมนตรีจะเข้าดำรงตำแหน่งได้ก็ต่อเมื่อได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภา
รัฐสภามีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีจะยุบสภาได้ในกรณีที่รัฐสภาไม่รับรองนโยบายของคณะรัฐมนตรี
หรือรัฐบาลแพ้คะแนนเสียงในการลงมติรับรองร่างพระราชบัญญัติสำคัญที่เสนอโดยรัฐบาล
ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา กับฝ่ายบริหาร คือ คณะรัฐมนตรี
จะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
2. การปกครองแบบประธานาธิบดี
เป็นการใช้ระบบการแยกอำนาจ ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา
) ฝ่ายบริหาร ( ประธานาธิบดี) และฝ่ายตุลาการ
( ศาล ) ให้แต่ละฝ่ายมรีอำนาจ และความเป็นอิสระ
ในการปฏิบัติหน้าที่ของตน โดยรัฐสภาและประธานาธิบดีต่างฝ่ายต่างมาจากประชาชน
ประธานาธิบดีจะอยู่ในตำแหน่งจนครบวาระและมีอำนาจแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
ให้มีการถ่วงดุลอำนาจกันระหว่างประธานาธิบดี รัฐสภา
และ ศาล คือ ประธานาธิบดี มีอำนาจถ่วงดุลรัฐสภา
แม้ว่ารัฐสภาจะเป็นผู้ออกกฎหมาย แต่จะประกาศใช้กฎหมายได้ต่อ
เมื่อประธานาธิบดีเป็นผู้ลงนาม ส่วนรัฐสภาก็มีอำนาจถ่วงดุลประธานาธิบดีได้เช่นกัน
ประธานาธิบดีและรัฐสภาสามารถถ่วงดุอำนาจของศาล ได้ด้วยการที่ประธานาธิบดีประธานาธิบดีมีอำนาจในการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงสุด
และต้องได้การรับรองจากรัฐสภา แต่ศาลก็มีอำนาจถ่วงดุลประธานาธิบดีและรัฐสภา
3. การปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา
ให้ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของชาติและเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร
ประธานาธิบดีสามารถอยู่ในตำแหน่งได้จนครบวาระ ประเทศที่ให้กำเนิด
รูปแบบการปกครองแบบนี้ คือ ประเทศฝรั่งเศส
ระบบการเมืองการปกครองที่ปรากฏในโลกนี้มี
2 ระบบ คือ
1. ระบบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย
หมายถึง การที่ประชาชนมีอำนาจ ปกครองตนเอง สำหรับในแง่การเมืองการปกครองนั้น