หลักของระบบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยที่สำคัญ
ได้แก่
1. หลักความเสมอภาค หมายถึง ความเท่าเทียมกันของคนในสังคม
2. หลักสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่
สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือประโยชน์ของบุคคลซึ่งกฎหมายรับรองและคุ้มครองให้แก่บุคคล
ซึ่งเป็นประชากรของรัฐ เสรีภาพ หมายถึง โอกาสที่บุคคลเลือกปฏิบัติได้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนมากที่สุด
โดยจะถูกควบคุม น้อยที่สุด
3. หลักนิติกรรม หมายถึง การยึดถือกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์กติกาของประเทศ
เท่ากับทำให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
4. หลักการยอมรับเสียงส่วนมาก
การใช้เสียงข้างมากจะต้องไม่ กระทำ เพื่อ ไปละเมิดสิทธิของเสียงส่วนน้อย
5. อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยคือการปกครอง
โดยรับความ ยินยอมจากประชาชน
6. หลักแห่งการใช้เหตุผล รูปแบบของการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย
รูปแบบการเมืองการปกครองแบบเผด็จการ
1.เผด็จการอำนาจนิยม ระบบเผด็จการแบบนี้มีความมุ่งหมายที่จะควบคุมสิทธิ
และเสรีภาพทางการปกครองของประชาชน เป็นสำคัญ แต่ผู้ปกครองอาจยอมให้ประชาชนมีเสรีภาพทางสังคม
เช่น เสรีภาพในการนับถือศาสนา สิทธิในครองครัว และเสรีภาพในการดำรงชีวิตส่วนตัว
2. เผด็จการเบ็ดเสร็จนิยม มีความมุ่งหมายสำคัญที่ต้องการควบคุมการดำเนินการต่าง
ๆ ของประชาชน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม