กรณีศึกษา : การค้าระหว่างสหรัฐฯ กับญี่ปุ่น

ตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา ประเทศญี่ปุ่นมีตัวเลขการเกินดุลการค้ากับประเทศต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ตัวเลขอยู่ที่ประมาณ 20 พันล้านดอลลาร์ ต่อปี ในปี 1985 ตัวเลขการเกินดุลการค้าของญี่ปุ่นสูงขึ้นเกือบถึง 60 พันล้านดอลลาร์ และปี 1991 สูงขึ้นเป็น 100 พันล้านดอลลาร์

ในตอนนี้ ปรากฎว่าหลายประเทศมีการขาดดุลการค้ากับประเทศญี่ปุ่น ในช่วงปีหลัง ๆ นี้ ทั้งประเทศจีน และประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการขาดดุลการค้ากับประเทศญี่ปุ่นสูงเกือบ 30 พันล้านดอลลาร์ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปก็ประสบกับสถานการณ์เช่นนี้เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม มูลค่าการเกินดุลการค้าหลักเป็นการเกินดุลที่มีต่อประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งตัวเลขล่าสุด แสดงให้เห็นว่าชาวอเมริกันจ่ายเงินซื้อสินค้าจากญึ่ปุ่นมากกว่ามูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่น กว่า 40 พันล้านดอลลาร์ ตัวเลขดังกล่าวลดลงจากเมื่อปีก่อน ๆ นี้ เนื่องจากการลดลงของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับเงินเยน ในปี 1985 อันเป็นผลจาก Plaza Accord

สิ่งที่สหรัฐฯ ให้ความสนใจ คือ ประเภทของสินค้าที่ญี่ปุ่นส่งออกไปขายให้สหรัฐฯ และประเภทของสินค้าที่สหรัฐฯ นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ดังตารางเปรียบเทียบต่อไปนี้

สินค้าส่งออกของญี่ปุ่นไปยังสหรัฐฯปี 1991 มูลค่า (พันล้านดอลลาร์) สินค้าส่งออกของสหรัฐฯ ไปยังญี่ปุ่น ปี 1991 มูลค่า (พันล้านดอลลาร์)
รถยนต์

คอมพิวเตอร์ดิสก์ไดร์ฟ

อุปกรณ์และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์

เซมิคอนดักเตอร์

หน่วยความจำในคอมพิวเตอร์

 กล้องถ่ายโทรทัศน์

 รถบรรทุก

 เครื่องเล่นวิดิโอ

พาหนะขนส่งรถยนต์

เครื่องถ่ายสำเนา

21,213

3,595

2,572

2,442

2,434

2,431

1,801

1,498

1,012

920 

บุหรี่

อุปกรณ์และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์

เครื่องบินโดยสาร

ข้าวโพด

ไม้สัก

 คอมพิวเตอร์

 เซมิคอนดักเตอร์

 อลูมินั่ม

ชิ้นส่วนเครื่องบิน

ถั่วเหลือง

1,673

1,665

1,629

1,407

1,280

1,191

 1,116

955

897

804 

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าสหรัฐฯ มีสินค้าออกที่ส่งไปขายญี่ปุ่นเป็นสินค้าประเภทสินค้าขั้นปฐม และผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีขั้นต่ำ ในขณะที่สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าประเภทเทคโนโลยีขั้นสูง หรือสินค้าอุดสาหกรรมที่มีความซับซ้อน สหรัฐฯ จึงมองว่าต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างการส่งออกและนำเข้าเสียใหม่หากต้องการแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้ากับประเทศญี่ปุ่น

คู่ค้าของญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยแสดงความเห็นว่า การส่งออกของญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การนำเข้าอยู่ที่ระดับคงที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นเลย ประเทศในกลุ่มประชาคมยุโรป (เดิม) และแถบฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งสหรัฐฯ ในตอนนี้พยายามที่จะกดดันให้ญี่ปุ่นซื้อสินค้าจากประเทศของตนให้มากขึ้น ในปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ ประสบความสำเร็จพอสมควรในความพยายามที่จะเปิดตลาดส่งออกสินค้าไปญี่ปุ่น อันได้แก่อุตสาหกรรมบุหรี่ ซึ่งตอนนี้สหรัฐฯ สามารถมีส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 16% ญี่ปุ่นนำเข้าสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์จากฟาร์มโคนม จากสหรัฐฯ สูงเกือบเท่าที่นำเข้าจากประเทศแถบยุโรปตะวันตก นอกจากนี้ กิจการสายการบินของญี่ปุ่น ขึ้นมาเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดที่สั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 747 จากสหรัฐฯ รวมไปถึงตลาดผลิตภัณฑ์กึ่งตัวนำ ( เซมิคอนดักเตอร์) ซึ่ง 13.5 % เป็นของบริษัทต่างชาตินั้น ส่วนใหญ่ก็เป็นของบริษัทอเมริกัน

อย่างไรก็ตาม จะต้องใช้เวลาอีกนานกว่าคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐฯ จะกลับเข้าสู่ยุคที่ญี่ปุ่นนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ เป็นมูลค่าเท่ากับมูลค่าการส่งออกของญี่ปุ่นไปยังสหรัฐฯ มีนักธุรกิจอเมริกันได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า นับตั้งแต่มีการลงนามในการประชุม Plaza Accord ซึ่งมีผลให้ค่าเงินเยนสูงขึ้นกว่า 2 เท่าตัว ทำให้ลูกค้าที่เป็นชาวญี่ปุ่นสามารถซื้อสินค้าอเมริกันได้มากขึ้น และมีอัตราการบริโภคสินค้าอเมริกันสูงขึ้นตามไปด้วย ที่จริง ค่าเงินเยนที่แข็งขึ้นนี้ ทำให้บริษัทอเมริกันที่เข้าไปดำเนินธุรกิจในญี่ปุ่น มีกำไรเพิ่มขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยน เมื่อมีการแปลงค่าบัญชีและการส่งเงินจากการประกอบการในญี่ปุ่นกลับไปสู่ประเทศแม่ของตน อีกประการหนึ่ง มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับญี่ปุ่นว่า บริษัทญี่ปุ่นไม่นำเงินที่ได้จากการเกินดุลการค้าประเทศต่าง ๆ กลับไปลงทุนเพื่อเป็นการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ และตราบใดที่ญี่ปุ่นยังคงมีดุลการค้าที่เกินดุลเป็นจำนวนมากมายเช่นนี้ ก็จะยังคงถูกโจมตีในทำนองดังกล่าวอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

คำถาม

  1. ทำไมสหรัฐอเมริกาจึงต้องให้ความสนใจกับภาวะการเกินดุลการค้าของญี่ปุ่นที่มีกับสหรัฐฯ
  2. การลดลงของค่าเงินดอลลาร์ของสหรัฐฯ มีผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจของสหรัฐฯ ในญี่ปุ่นอย่างไร และมีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกของสหรัฐฯ อย่างไร จงอธิบาย

 

แนะนำรายวิชา   ตารางเรียน   งานที่มอบหมาย   กรณีศึกษา   ข่าวสาร   บทความ   แหล่งข้อมูล   ติดต่อผู้สอน