สาระน่ารู้กับ ขสมก.


ประวัติการก่อตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

     กิจการรถเมล์ได้ถือกำเนิดเป็นครั้งแรกในเมืองหลวง โดย พระยาภักดีนรเศรษฐ์ (เลิศ เศรษฐบุตร) ในปี พ.ศ. 2450 ช่วงแรกเป็นรถเทียมม้า ต่อมาเป็นรถยนต์ สามล้อ ยี่ห้อฟอร์ด มีที่นั่งยาวเป็นสองแถว กิจการรถเมล์เจริญ ขึ้นเป็นลำดับ และขยายเส้นทางออกไป ทั่วพระนครในปี พ.ศ. 2476

     กิจการรถเมล์ได้เจริญเติบโตขึ้นพร้อมกับความเจริญรุ่งเรืองของเมืองหลวงและการเพิ่มของประชากร เมื่อมีบริษัทรถเมล์ มากขึ้น เส้นทางวิ่งก็มากขึ้น และขยายไกลออกไป ลักษณะเส้นทาง จะวกวนซับซ้อน การจราจรจะเริ่ม คับคั่งติดขัด เพราะเป็นรถเมล์เอกชน ที่ต่างก็มุ่งบริการเพื่อแสวงหาผลกำไร เพียงอย่างเดียว โดยไม่พยายามปรับปรุงด้าน การบริการ ต่อมาระหว่างปี พ.ศ. 2516-2518 เกิดภาวะเงินเฟ้อ ผู้ประกอบการเริ่มเรียกร้องให้มีการปรับปรุง ค่าโดยสารและใช้แรงงานเป็นเครื่องมือ เร่งรัดบีบรัฐบาล จนในที่สุดรัฐบาลต้องมารับภารกิจในด้านการขนส่งเอง

     ในปี พ.ศ. 2514 ผู้เชี่ยวชาญของรัฐบาลเยอรมัน ได้ทำการสำรวจภาวะ การจราจรในกรุงเทพฯ เสนอ แนะให้รวม รถเมล์เอกชน ขณะนั้นมีจำนวน 24 บริษัท และของรัฐอีก 2 แห่ง มีรถประจำการ 3,773 คัน ควรรวมเป็นราย เดียวกัน จะเป็นเอกชนหรือรัฐบาล หรือเอกชนร่วมกับรัฐก็ได้ ถ้าเอกชนร่วมกับรัฐก็ได้ ถ้าเอกชนรวมกันไม่ได้ รัฐควรเป็น ผู้ดำเนินการรวมเสียเอง โดยการรับซื้อ รถยนต์เก่าและงดต่อใบอนุญาต ซึ่งหมดสัญญาในวันที่ 30 กันยายน 2518

     จุดเริ่มต้นของการรวมรถเมล์อย่างจริงจัง คือในสมัย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เสนอแผน การที่จะขจัด ปัญหาความยากจน ของประชาชนในเมืองหลวง ให้ผู้มีรายได้ต่ำและบุตรหลาน นักเรียน นักศึกษา ไม่ต้องเสีย ค่าโดยสารรถเมล์ จากเหตุผลดังกล่าว รัฐบาลจึงตัดสินใจ รวมรถเมล์เป็นรูป บริษัท รัฐวิสาหกิจ "บริษัท มหานครขนส่ง จำกัด" เริ่มกิจการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2518 เป็นกิจการสาธารณูปโภค ด้านการบริการประชาชน โดยไม่หวังผลกำไร

     จากปัญหา ข้อกฎหมาย และการเปลี่ยนแปลง รัฐบาลใหม่ รัฐบาลจึงให้ยกเลิก การดำเนินการในรูป บริษัท มหานครขนส่ง จำกัด เป็นองค์การ ในรูปรัฐวิสาหกิจ จัดตั้งโดย พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเป็น "องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ" เมื่อ วันที่ 18 สิงหาคม 2519 และเริ่มดำเนิน กิจการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2519 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ เดิน รถโดยสารประจำทาง ให้บริการประชาชนในเขต 6 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรสาคร และสมุทรปราการ

การยกเว้นและการลดหย่อนค่าโดยสาร

     ผู้ที่ได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร

  1. ผู้ตรวจการ
  2. พระภิกษุ สามเณร
  3. บุรุษไปรษณีย์ในเครื่องแบบ
  4. ผู้ถือบัตรอนุญาตขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
  5. ผู้ถือบัตร หรือเหรียญตราของทางราชการที่มีระเบียบระบุไว้ว่า มีสิทธิยกเว้นค่าโดยสารรถประจำทาง

     ผู้โดยสารที่ใช้บริการรถเมล์ (ธรรมดา) ของ ขสมก. มีสิทธิ์ได้รับการลดหย่อนค่าโดยสารได้ในอัตรา ครึ่งราคา ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้

  1. คนตาบอด ที่มีหนังสือรับรองสมาคมคนตาบอด
  2. ทหาร ตำรวจ ในเครื่องแบบ
  3. ผู้ถือบัตร หรือเหรียญตราของทางราชการที่มีระเบียบระบุไว้ว่า มีสิทธิได้รับ การลดหย่อน ค่าโดยสารรถประจำทางครึ่งราคา เสียค่าโดยสารครึ่งราคา
  4. ตามอัตราที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งกำหนดไว้ ซึ่งได้แก่บัตร 5 ชนิด คือ
    • เหรียญชัยสมรภูมิ และทายาท
    • เหรียญงานพระราชสงครามในทวีปยุโรป
    • เหรียญราชการชายแดน
    • เหรียญพิทักษ์เสรีชน
    • บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ ชั้นที่ 1,2,3 และ 4

     ผู้โดยสารที่มีสิทธิได้รับการลดหย่อนอัตราค่าโดยสาร รถปรับอากาศ ได้แก่ผู้ที่ถือบัตรหรือเหรียญ ตราของทางราชการ 5 ประเภท คือ

การลดหย่อน
ค่าโดยสารราคาปกติ อัตราลดหย่อน
6 บาท 4 บาท
8 บาท 5 บาท
10 บาท 7 บาท
12 บาท 8 บาท
14 บาท 9 บาท
16 บาท 11 บาท

ผลประกอบการของ ขสมก.

     ผลประกอบการของ ขสมก. ที่ผ่านมาปรากฎว่า ประสบภาวะ การขาดทุนมาโดยตลอด โดยในปี 2538 มีรายได้ จากการดำเนินงาน เป็นจำนวนเงิน 5,658.93 ล้านบาท ซี่งเพิ่มขึ้นจากปี 2537 แต่ในขณะเดียวกัน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยในปี 2538 ขสมก. มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงถึง 7,717.76 ล้านบาท ส่งผลให้ ขสมก. ขาดทุน จากการดำเนินงาน เป็นจำนวนเงิน 2,058.83 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าขาดทุนที่สูงสุดในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องจากรายได้ จากการจำหน่ายตั๋วโดยสารลดลง ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการเดินรถและซ่อมบำรุง รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการบริหารสูงขึ้น

     แม้ว่า ขสมก. จะมีรายได้อื่น ๆ และเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเข้ามาเสริม แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ดังนั้น ขสมก. จึง ขาดทุนสุทธิ 1,273.95 ล้านบาท ในปี 2538 แต่อย่างไรก็ตามเงิน อุดหนุนที่รัฐบาล ให้ความช่วยเหลือ นั้นสามารถกอบกู้ สถานภาพของ ขสมก. ให้ดีขึ้น โดยเฉพาะในปี 2535 ขสมก. มียอดกำไรสุทธิ ที่รวมดอกเบี้ย ที่รัฐบาลรับภาระ เป็นครั้งแรกและครั้งเดียว เท่านั้นเป็นจำนวนกำไร 61.60 ล้านบาท แต่ ภายหลังจากนั้น ขสมก. ยังคงขาดทุนสุทธิอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน โดยในปี 2538 ยอดขาดทุนสุทธิ ที่รวมดอกเบี้ยที่รัฐบาลรับภาระเป็นจำนวน 1,692.89 ล้านบาท

     ตามสภาพการดำเนินงานที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และได้พบว่าหากยังคงสภาพการดำเนินงานของ ขสมก. ไว้ในสภาพเช่น ที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบันโดยไม่มีการปรับปรุง ในเรื่องอัตราค่าโดยสาร เส้นทางเดินรถ หรือการจัดการองค์กร ตลอดไปจนถึง ระบบการบริหารบุคลากรแล้ว ขสมก. จะประสบกับการขาดทุนสูงมากขึ้นทุก ๆ ปี สภาพการขาดทุนในปี 2538 และความคาดหมาย เกี่ยวกับภาวะการขาดทุน ในอนาคตของ ขสมก. ปรากฎตามตาราง

กำไร/ขาดทุนสุทธิของ ขสมก. (ล้านบาท)

รายการ 2538 2539* 2540* 2541* 2542* 2543*
รายได้ทั้งหมด 6,442 6,717 6,940 7,179 7,436 7,713
ค่าใช้จ่ายทั้งหมด 8,222 8,542 9,839 10,775 11,809 12,951
กำไรสุทธิ -1,780 -1,825 -2,899 -3,596 -4,373 -5,238

*ตัวเลขประมาณการ




ถ้าเพื่อนๆ คนใดมีข้อมูลเพิ่มเติมหรือแก้ไขและอยากจะแบ่งปันความรู้นี้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ช่วยกรอกลงในฟอร์มนี้ได้เลยครับ
ที่อยู่อีเมล์:
หัวข้อ:
ข้อมูลเพิ่มเติมหรือแก้ไข: