การตั้งเมือง

      ลังจากที่รัชกาลที่ 1 ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ที่ธนบุรีแล้ว พระองค์ก็ได้ทรงย้ายเมืองมาอยู่ที่อีกฝั่งหนึ่ง ของแม่น้ำ ทั้งนี้คงจะมีการวางแผนกันมาบ้างแล้วกับพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์จึงทรงย้ายเมืองในทัน ทีได้โดยสะดวกเหตุ ผลสำคัญในการย้ายเมืองคือ พื้นที่ทางฝั่งธนบุรีเป็นพื้นที่เว้าของแม่น้ำ ถึงแม้จะ เป็นที่ดอน แต่ก็อาจจะถูก น้ำกัดเซาะได้ในภายหลัง และธนบุรีเองก็ไม่ใช่เป็นชัยภูมิที่ดีในการป้องกัน ข้าศึก แต่ทางฝั่งตะวันออกนี้ถึงแม้จะเป็นที่ลุ่มกว่า แต่เป็นที่โค้งออกตามลำน้ำ ทำให้เป็นชัยภูมิที่สา มารถป้องกันข้าศึกได้ดีกว่า พระองค์จึงทรง ย้ายเมืองข้ามฝั่งแม่น้ำมาเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2325 โดยออกจากท่าที่พระราชวังเดิมเวลา 09.00 นาฬิกา 9 นาทีแล้วจึงเริ่มทำการสร้างพระนคร โดยใน ชั้นแรกนั้น ได้ทรงสร้างปราสาทราชวังเป็นเครื่องไม้ก่อน เพราะต้องสร้างไปพร้อมๆกับที่ ต้องระวังข้า ศึกไปด้วย ทำให้ไม่มีเวลามากในการทำอิฐ

      ระองค์จึงจำต้องนำอิฐมาจากซากเมืองเก่าที่อยุธยามา สร้างเป็นพระนครใหม่ หลังจากนั้นจึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตข้ามฝั่งจากธนบุรีมาไว้ยังฝั่งพระนคร เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พศ. 2327 และประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามถึงปัจจุบัน

 
   ::หน้าหลัก
   ::การตั้งเมือง
   ::คำว่าบางกอก
  ::ความหมายของกรุงเทพ
   ::รัชกาลที่ ๑
   ::รัชกาลที่ ๒
   ::รัชกาลที่ ๓
   ::รัชกาลที่ ๔
   ::รัชกาลที่ ๕
   ::รัชกาลที่ ๖
   ::รัชกาลที่ ๗
   ::รัชกาลที่ ๘
   ::รัชกาลที่ ๙

 
 
 
 
 
 

      นการสร้างเมืองใหม่นั้น พระองค์ทรงทอดแบบผังเมืองมาจากอยุธยาแทบทุกอย่างเช่น สร้างวัดพระ
ศรีรัตนศาสดารามให้เป็นวัดในพระราชวังเหมือนกับวัดพระศรีสรรเพชร สร้างสนามหลวงเหมือนลาน สนามหลวงที่หน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ตั้งชื่อสถานที่ต่างๆให้เหมือนสถานที่ในอยุธยาเช่นขุดคลองมหา นาคเพื่อเป็นคูเมืองซึ่งก็เหมือนกับคลองมหานาคในอยุธยาที่ถูกขุดขึ้นมาเพื่อเป็นคูเมืองเช่นเดียวกัน

      นสมัยต้นรัชกาลที่ 1 เขมรยังเป็นเมืองขึ้นของไทยอยู่ มีคนงมพระขรรค์ได้เล่มหนึ่งจากทะเลสาปเขมร เป็นของทำมาแต่สมัยนครวัติมีสภาพที่ดีมาก ไม่มีรอยสนิมและการผุกร่อน แม้จะจมอยู่ในน้ำมาเป็น เวลาหลายร้อยปี ผู้แทนพระองค์ที่อยู่ในเขมรจึงนำพระขรรค์นั้นมาถวาย พระองค์จึงโปรดให้ทำด้าม และฝักขึ้นมาใหม่ แล้วทรงนำมา ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์[Rigalia]และพระราช ทานชื่อว่าพระแสงขรรค์ชัยศรี

      นวันที่นำพระแสงเข้ามาในวังนั้น ได้เกิดมีฟ้าผ่าทั่วเมืองถึง 7 ครั้ง พระองค์ก็ทรงมีพระราชดำริว่า คง ไม่ใช่นิมิตที่ธรรมดา จึงทรงตั้งชื่อประตูที่ใช้เป็นทางผ่านของพระขรรค์ชัยศรีในวันที่นำเข้ามาถวายให้มี สร้อยลงท้ายว่า ชัยศรี ประตูดังกล่าวคือ ประตูวิเศษชัยศรีและพิมานชัยศรี




Home | Site Map| Contact Us |
ประวัติศาสตร์ | การปกครอง | สถานที่ท่องเที่ยว | การคมนาคม | เทศกาล
Copyright 2003.All right reserve by www.SawasdeeBangkok.com