วันรัฐธรรมนูญของไทย
 
พระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญได้ปฏิบัติสืบต่อกันมา ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศสละราชสมบัติ ในวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ แล้วก็ตาม โดยในปีต่อ ๆ มาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ไปประกอบพระราชพิธีดังกล่าวแทน ต่อมาพระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ รักษาการนายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งเรื่องตั้งกรรมการพิจารณาเรื่องวันหยุดและประกอบพิธีทางราชการที่เกี่ยวกับวันหยุดราชการ ลงวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๘ โดยมีหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ เป็นประธานกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีมีมติวางระเบียบกำหนดวันหยุดราชการประจำปี โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ มีดังนี้

วันขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ (Constitution Petition Day) คือ วันที่ ๒๔ มิถุนายน เป็นวันที่คณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิ-ราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย

วันรัฐธรรมนูญชั่วคราว (Provisional Constitution Day) คือ วันที่ ๒๗ มิถุนายน เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน ฉบับชั่วคราว
จนกระทั่งปี ๒๔๘๒ คณะรัฐมนตรีชุดจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีมติกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ โดยวันขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ วันที่ ๒๔ มิถุนายน ได้เปลี่ยนเป็นวันชาติ (National Day) คือ วันที่ ๒๓ ถึงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ส่วนวันรัฐธรรมนูญชั่วคราวได้ยกเลิกไป แต่ วันรัฐธรรมนูญยังคงไว้ตามเดิม* ประเทศไทยได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ ๑ เมษายนของทุกปี เป็นวันที่ ๑ มกราคม ตามสากลในปี พ.ศ. ๒๔๘๓เพียงวันเดียว แทนที่จะเป็นวันที่ ๑๑ และ ๑๒ ธันวาคม ดังในอดีต และต่อมาได้เปลี่ยนจากงานรัฐพิธีเป็นงานพระราชพิธีดังเดิม ในปี ๒๔๙๑ รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ พ.ศ. ๒๔๙๑ ใหม่ โดยวันชาติจากที่เคยเป็นวันที่ ๒๓ ถึงวันที่ ๒๕ มิถุนายน เป็นวัน ๒๔ มิถุนายน เพียงวันเดียว และต่อมาถูกยกเลิกไป ส่วนวันรัฐธรรมนูญจากที่เคยเป็นวันที่ ๙ ถึงวันที่ ๑๑ ธันวาคม เปลี่ยนเป็นวันที่ ๑๐ ธันวาคม๑๘ เพียงวันเดียว ตั้งแต่นั้นมาวันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี จึงถือเป็นวันรัฐธรรมนูญจวบจนปัจจุบัน
 
Design by..Imayza You can contact me at : imayza@hotmail.com