1. ประเพณีความเชื่อซึ่งประชาชนทั้งหลายนับถือเรื่องรามเกียรติ์ว่าเป็นเรื่องศักดิ์สิทธเนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเทพเจ้า โดยเฉพาะพระนารายณ์ เมื่อมีการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ จึงมีพิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับการแสดงโขนและหัวโขนที่สวมใส่ปรากฎสืบมาจนกลายเป็นระเบียบแบบแผนที่ลงตัวสืบมาจนถึงปัจจุบัน
พิธีไหว้ครูช่างหัวโขน
หัวโขน ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญในการแสดงโขน เพราะเป็นสิ่งบอกให้รู้ว่าผู้นั้นแสดงเป็นตัวอะไรในเรื่องรามเกียรติ์ ช่างแต่โบราณจึงได้คิดประดิษฐ์หัวโขนขึ้นเพื่อให้ผู้แสดงโขนสวมใส่และงานประดิษฐ์หัวโขนนับถือเป็นศิลปะแขนงหนึ่งในงานช่าง 10 หมู่ ผู้ที่เป็นช่างทำหัวโขนจึงจะต้องผ่านพิธีไหว้ครูและการครอบครูมาก่อน เมื่อประสงค์จะปั้นหน้าครูที่สำคัญ เช่น พระภรตฤาษี พระพิราพ พระคเณศ เป็นต้น แม้จะเป็นผู้ที่มีฝีมือและมีความชำนาญมากเพียงใดก็ตาม ก็จะต้องได้รับการมอบหมายจากครูที่เป็นช่างทำหัวโขน พร้อมทั้งพิธีไหว้ครูโขน-ละครประจำปีก็ได้ตามแต่จะสะดวกหรือโอกาสอำนวยในการไหว้ครูช่างทำหัวโขนจะทำในวันพฤหัสบดีซึ่งถือเป็นวันครู โดยในตอนเช้าจะมีพิธีสงฆ์หรือครูกับศิษฐ์ร่วมกันทำบุญตักบาตรเพื่อุทิศส่วนกุศลให้แก่ครูผู้ล่วงลับไปแล้ว

         
   
   
         
         
         
         
         
         
         
 
ลักษณะการตั้งหัวโขนแบบต่าง ๆ ในพิธีไหว้ครู
1.แบบตั้งรวมกับพระพุทธรูป
1.1 แบบ 12 หน้า จะมีหัวโขนดังนี้ พระอิศวร พระนารายณ์
พระพรหม พระอินทร์ พระขันธกุมาร พระคเณศ พระปรโคธรรพ
พระปัญจสีขร พระภรตฤาษี พระพิราพ พระวิษณุกรรม เทริด
1.2 แบบ 10 หน้า จะมีหัวโขนดังนี้ พระอิศวร พระนารายณ์
พระขันธกุมาร พระคเณศ พระปรโคนธรรพ พระปัญจสิงขร พระภรตฤาษี พระพิราพ พระวิษณุกรรม เทริด
1.3 แบบ 8 หน้า จะมีหัวโขนดังนี้ พระอิศวร พระนารายณ์ พระขันธกุมาร พระคเณศ พระปรโคนธรรพ พระปัญจสีขร พระภรตฤาษี พระพิราพ
1.4 แบบ 6 หน้า จะมีหัวโขนดังนี้ พระอิศวร พระนารายณ์
พระปรโคนธรรพ พระภรตฤาษี พระพิราพ พระวิษณุกรรม
1.5 แบบ 4 หน้า จะมีหัวโขนดังนี้ พระอิศวร พระนารายณ์
พระภรตฤาษี พระพิราพ
1.6 แบบ 2 หน้า จะมีหัวโขนดังนี้ พระภรตฤาษี พระพิราพ
2.แบบพระพุทธรูปอยู่ต่างหาก
มักจะจัดเป็นชั้นลดหลั่นลงมา
ชั้นสูงสุด เป็นพระมหาเทพทั้งสาม มีพระอิศวรอยู่ตรงกลาง
พระนารายณ์อยู่ด้านขวา พระพรหมอยู่ด้านซ้าย
ชั้นที่สอง เป็นเทพสำคัญ มีพระภรตฤาษี พระฤาษีกไลยโกฎ
พระคเณศ พระปรโคนธรรพ พระปัญจสีขร พระวิษณุกรรม พระอินทร์ พระพิราพ เทพนมเคราะห์ต่าง ๆ
ชั้นที่สาม ด้านขวามี พระราม พระลักษณ์ พระพรต พระสัตรุด พญาวานร วานรสิบแปดมงกุฎ วานรบริวาร
ตรงกลางมี นรสิงห์ เงาะช้างเอราวัณ ชฎา มงกุฎ เครื่องประดับศีรษะต่าง ๆ อาวุธต่าง ๆ ที่ใช้ในการแสดงและสำหรับมอบ
ด้านซ้ายมี อสูรพรหมพงศ์ อสูรพงศ์ อสูรเทพบุตร สัมพันธมิตรกรุงลงกา อสูรบริวาร
หมายเหตุ ด้านซ้าย-ขวานี้ให้ถือเอาทิศด้านหน้าที่บูชาโดยหันหน้าออก

top

         
Copyright March 2003. All Right Reserved. Contact US E-mail : Tula1407@hotmail.com