อสูรแห่งกรุงลงกา

ทศกัณฐ์-พญายักษ์
ลัษณะหัวโขน ทำเป็นหน้ายักษ์ 3 ชั้น คือ ชั้นแรกมีหน้าปกติ 1 หน้า และมีหน้าเล็ก ๆ เรียงกัน 3 หน้า ตรงท้ายทอย ชั้นที่ 2 ทำเป็นหน้าเล็ก ๆ 4 หน้าเรียงสีด้าน ชั้นที่ 3 ทำเป็นหน้าพรหมด้านหน้า หน้ายักษ์ด้านหลัง ปากแสยะตาโพลง สวมมงกุฎยอดชัย หน้าทศกัณฐ์ มี 3 สี คือ ปกติใช้หน้าสีเขียว ตอนนั้งเมืองใช้
หน้าสีทอง และมีทำหน้าสีน้ำรักซึ่งยังไม่มีปรากฎใช้ในการแสดง
นอกจากนี้ยังมีหัวโขน
ทศกัณฐ์แปลงเป็นพระอินทร์ในการรบครั้งสุดท้าย ลักษณะทำเป็นหน้าพระ 3 ชั้น สีเขียว มีเขี้ยว ซึ่งเป็นหัวโโขนเพียงหัวเดียวในเมืองไทยที่ประดิษฐ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 และยังมีหัวโขนหน้าทศกัณฐ์ที่ทำด้วยทองแดงปิดทองประดับกระจกอีก 1 หัว
ทศกัณฐ์มีกายสีเขียว 10 พักตร์ 20 กร เป็นโอรสองค์ที่ 1 ของท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎานับเป็นกษัตริย์กรุงลงกาองค์ที่ 3 มีมเหสีคือ นางมณโฑ กับนางกาลอัคคี และนางสนมอีกจำนวนมาก มีโอรส 1,015 มีธิดา 2 องค์ อุปนิสัยไม่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม หยาบช้า สามารถถอดจิตออกจากตนได้ทำให้ประพฤติตนไม่ถูกต้องไปลักพานางสีดามเหสีของพระรามมาจึงเป็นต้นเหตุแห่งศึกกรุงลงกา ทำให้พี่น้องเผ่าพงศ์ยักษ์ล้มตายเป็นอันมาก ในที่สุดก็ตายด้วยศรของพระราม โดยหนุมานขโมยกล่องดวงใจไปได้


 
 
กุเปรัน-พญายักษ

ลักษณะหัวโขน หน้ายักษ์สีม่วงอ่อน ปากขบ ตาโพลง บางแห่งว่าปากแสยะ สวมมงกุฎกระหนกกายสีม่วงอ่อน 1 พักตร์ 2 กร โอรสท้าวลัสเตียนกับนางศรีสุนันทา เป็นพี่ชายต่างมารดากับทศกัณฐ์ ท้าวลัสเตียนให้ครอบครองเมืองกาลจักร และมองบุษบกแก้วของท้าวสหมลิวัน ซึ่งให้ไว้แก่ท้าวจัตุรพักตร์เป็นมรดก ทศกัณฐ์ต้องการแย่งชิงบุษบกไปครอบครอง กุเปรันหนีไปหาพระอิศวร ซึ่งกำลังเข้าฌานบนหลังช้าง พระอิศวรกริ้วถอดงาช้างขว้างไปปักอกทศกัณฐ์ และสาปให้ติดอยู่จนกระทั่งตาย



 
 

ทัพนาสูรหรือเทพาสูร-พญายักษ

ลักษณะหัวโขน หน้ายักษ์สีหงดิน ปากขบตาโพลง บางแห่งว่าปากแสยะ สวมมงกุฎสามกลีบกายสีหงดิน (อสูรพงษ์ฉบับสมุดไทยว่าสีหงเสน) มี 1 พักตร์ 2 กรเป็นโอรสท้าวลัสเตียนกับนางจิตรมาลีพี่ชายจต่างมารดาของทศกัณฐ์ครองเมืองจักรวาล ทศกัณฐ์เชิญไปช่วยรบกับพระราม
 
 
กุมภกรรณ-พญายักษ

ลักษณะหัวโขน ทำเป็นหน้ายักษ์ 4 หน้า เพื่อให้ต่างกับเสนายักา คือ เป็นหน้าปกติ 1 หน้า และเป็นหน้าเล็ก ๆ 3 หน้า เรียงกันอยู่ตรงท้ายทอย ปากแสยะตาโพลง หัวโล้น สวมกะบังหน้าไม่มีมงกุฎ หน้ามี 2 สี คือ หน้าสีเขียว กับหน้าสีทอง
กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร เป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกับทศกัณฐ์ ได้เป็นอุปราชเมืองลงกามเหสีชื่อนางจันทวดี สนมเอกชื่อนางคันธมาลี มีอุปนิสัยตั้งมั่นอยู่ในสัจธรรม แต่จำใจช่วยรบกับพระรามเพื่อสนองคุณทศกัณฐ์ มีหอกโมกขศักดิ์เป็นอาวุธวิเศษ รบกับพระรามหลายครั้งและในที่สุดตายด้วยศรของพระราม


 
 
พิเภก-พญายักษ์

ลักษณะหัวโขน หน้ายักาสีเขียว ปากแสยะตาจระเข้ สวมมงกุฎน้าเต้ากลมกายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร เป็นน้องร่วมบิดามารดากับทศกัณฐ์ ประวัติกล่าวว่า ชาติก่อนเป็นเวสสุญาณเทพบุตรมาจุติ มีความรอบรู้คัมภีร์ไตรเภทและโหราศาสตคร์ ด้วยความประสงค์ของพระเป็นเจ้าเพื่อให้เป็นไส้ศึก รู้เล่ห์กลของพวกยักษ์ เปิดเผยให้แก่พระราม ทศกัณฐ์ขับออกจากเมือง เพราะแนะนำให้ส่งนางสีดาคืนจึงสมัครไปอยู่กับพระรามด้วยตรวจดวงชะตาตนเองว่าพระรามจะเป็นผู้อุปถัมภ์มีบทบาทและปฎิบัติหน้าที่อันเป็นประโยชน์ในการสงคราม เช่น การหาฤกษ์ยาม การทำนายฝัน บอกวิธีการแก้กลอุบายการใช้อาวุธและความลับต่าง ๆ เพื่อชัยชนะ เสร็จศึกลงกาได้เป็นเจ้าลงการ มีนามว่าท้าวทศคิริวงศ์ ต่อมาเกิดกบฎในกรุงลงกา ถูกจองจำได้รับความช่วยเหลือจากพระรามและหนุมาน



 
 
ตรีเศียร-พญายักษ

ลักษณะหัวโขน หน้ายักษ์สีขาว ๓ หน้า ทำเป็นหน้าปกติ ๑ หน้า หน้าเล็กอยู่ตรงท้ายทอย ๒ หน้า ปากขบตาจระเข้ บางแห่งว่าปากแสยะ สวมมงกุฎชัยหรือมงกุฎยอดน้ำเต้า ๓ ยอดกายสีขาว ๓ พักตร์ ๖ กร เป็นน้องชายร่วมครรภ์มารดาของทศกัณฐ์ครองเมืองมัชวารีรบกับพระรามด้วยความโกรธแค้นที่พญาขร พญาทูษณ์พี่ชายถูกพระรามฆ่าตายและตนเองก็ตายด้วยศรพระราม



 
  อินทรชิต หรือ รณพักตร์-พญายักษ
ลักษณะหัวโขน หน้ายักษ์สีเขียว ปากขบ ตาโพลงเขี้ยวคุด (ดอกมะลิ) สวมชฎามนุษย์หรือชฎายอดกาบไผ่เดินหนแบบพระอินทร์ จอนหูมี ๒ แบบ คือจอนหูแบบมนุษย์และจอนหูแบบยักษ์ นอกจากนี้ยังทำหน้าสีทองอีกแบบหนึ่ง และในตอนเป็นเด็กสวมกะบังหน้ามีเกี้ยวรัดจุก(ชฎาเด็กหรือหัวกุมารไว้จุก)กายสีเขียว ๑ พักตร์ ๒ กร เป็นโอรสทศกัณฐ์กับนางมณโฑ มีมเหสีชื่อนางสุวรรณกันยุมา มีบุตรชื่อยามลิวันและกันยุเวก อินทรชิตเดิมชื่อรณพักตร์เมื่อรบชนะพระอินทร์ทศกัณฐ์จึงตั้งชื่อให้ว่าอินทรชิต ได้รับพระจากพระเป็นเจ้าสามองค์คือ พระอิศวร พระพรหมและพระนารายณ์มีอิทธิฤิทธิ์มากรบกับพระรามหลายครั้งหลายหน ตายด้วยศรพระลักษณ์ที่เนินเขาจักรวาลตอนตายองคตต้องนำพานจากพระพรหมธาดามารองนับเศียรอินทรชิต เพื่อมิให้ตกถึงพื้นเพราะจะเกิดไฟไหม้ทั่วทั้งจักรวาล
 
 
แสงอาทิตย
์-พญายักษ์
ลักษณะหัวโขน หน้ายักษ์สีแดงชาด ปากขบ ตาจระเข้ บางแห่งว่าปากแสยะ ตาโพลง สวมมงกุฎกระหนกกายสีแดงชาด มี ๑ พักตร์ ๒กร เป็นโอรสองค์ที่ ๒ ของพญาขรกับนางรัชฎาสูร อนุชามังกรกัณฐ์ มีอาวุธเป็นแว่นวิเศษ ซึ่งฉายส่องไปที่ไหนจะบังเกิดไฟไหม้ ฝากไว้ที่ท้าวธาดาพรหมแสงอาทิตย์ตายด้วยศรพระรามในสนามรบ พร้อมกับพี่เลี้ยงชื่อจิตรไพรี






 
 
ทศพิ (ไพนาสุริยวงศ์)-ยักษ
ลักษณะหัวโขน หน้ายักษ์สีเขียว ปากขบตาโพลงเขี้ยวคุด(ดอกมะลิ) สวมชฎามนุษย์หรือชฎายอดกาบไผ่เดินหนแบบอินทรชิต จอนหูแบบมนุษย์และในตอนเด็กสวมกะบังหน้ามีเกี้ยวรัดจุก (ชฎาเด็ก หรือ หัวกุมารไว้จุก)กายสีเขียว ๑ พักตร์ ๒ กร เป็นโอรสของทศกัณฐ์กับนางมณโฑเมื่อพิเภกครองกรุงลงกาหลังจากทศกัณฐ์ตาย ได้นางมณโฑเป็นมเหสี ขณะนั้นนางมณโฑตั้งครรภ์อยู่แล้วเมื่อคลอดพิเภกเข้าใจว่าเป็นลูกของตน เมื่อไพนาสุริยวงศ์เติบโตขึ้น พี่เลี้ยงชื่อวรณีสูรเป็นผู้บอกความจริงและยุให้เป็นกบฏเกิดศึกกรุงลงกาอีกตรั้ง พระพรตเป็นผู้มาปราบกบฏและสั่งประหารไพนาสุริยวงศ์พร้อมกับพี่เลี้ยง

 
ทศกัณฐ์ กุเปรัน ทัพนาสูร กุมภกรรณ พิเภก ตรีเศียร อินทรชิต

ความเชื่อ การรักษา
Copyright March 2003. All Right Reserved. Contact US E-mail : Tula1407@hotmail.com